Monthly Archives: September 2017

การหาตลาดชาวนาในประเทศญี่ปุ่น

Posted on by

ถ้าคุณอยากจะหาวิธีประหยัดค่าใช้จ่ายเมื่อได้มาอยู่ประเทศนี้แล้วล่ะก็ การซื้อหาของในตลาดชาวนานั้นก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยคุณผู้อ่านได้มากเลยเช่นกัน ถึงแม้ว่าจะมีบ้างที่ห้างหรือร้านซุปเปอร์มาร์เก็ตใกล้ๆ บ้านคุณนั้นจะมีโซนขายของพวก ท้องถิ่น หรือ ออร์แกนิค จัดแบ่งไว้ให้ในที่ดังกล่าวด้วยเช่นกัน (ขึ้นอยู่กับบางทีอ่ะนะ แต่ส่วนมาก ร้านพวกนั้นย่อมขายสินค้าท้องถิ่นอยู่แล้ว) แต่เพื่อความชัวร์นั้นเราควรจะไปซื้อที่ตลาดชาวนาโดยตรงเลยซะดีกว่า  ตลาดชาวนา (ファーマーズマーケット) หรือ “ตลาดช่วงเช้า”(Morning Market) (朝市, あさいち, asaichi).

เมื่อครั้งมาแรกๆ ฉันเองก็ถามเจ้าตลาดแบบนี้กลับเพื่อนร่วมงานเช่นเดียวกัน ทุกคนต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า แถวๆ นี้ไม่มีหรอก ด้วยเหตุนี้การค้นหาของฉันก็เลยสิ้นสุดลงไป อย่างน้อยฉันน่าจะค้นหาเจอบ้างสักที่นะคะ

หลายปีผ่านไปฉันก็เริ่มเห็นการเปลื่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ตลาดชาวนาต่างก็เริ่มมีมาเปิดที่นี้กันมากขึ้น และที่ฉันชอบอีกสิ่งหนึ่งก็คือในเรื่องของราคาที่แทบจะถูกมากเลยทีเดียวถ้าวางขายตามร้านซุปเปอร์มาร์เก็ตแถวบ้าน ด้วยความถูกสุดๆ นี้ฉันจึงจัดผลไม้และผักไปมากมายจนแถบหอบไม่ไหวเลยทีเดียว คุณผู้อ่านเชื่อไหมคะ ว่าทั้งหมดนี้แค่ 100 เยนหรือน้อยกว่านี้นิดนึงเอง แล้วฉันประหลาดใจด้วยอีกว่าเมื่อหลายอาทิตย์ก่อนที่ตลาดนั้น ฉันเห็นผลบลูเบอร์รี่วางขายแพ๊คใหญ่เชียวซึ่งราคาเมื่อเทียบกับในร้านซุปเปอร์มาร์เก็ตแล้วล่ะก็ ฉันไม่ได้ชอบกินเจ้าผลไม้นี่หรอกนะ แต่เมื่อมองดูของที่ได้กับราคาสิคะ รับรองเลยว่า นี่มันเป็นอะไรที่ไม่ควรพลาดมากๆ

แม้คุณจะได้ของดีในราคาที่แจ่มๆ ขนาดนี้ แต่ตลาดชาวนานี้นั้นมักจะไม่ได้มีของวางขายอยู่

ทุกอย่างนะคะ เพราะที่ตลาดนี้เค้าจะขายของพวกที่ปลูกได้ตามฤดูกาลเท่านั้น (มันก็ไม่ได้แย่อะไรมากมายเลยนะ)

เว็บที่ฉันแนะนำข้างล่างนี้จะช่วยให้คุณผู้อ่านได้ค้นหาตลาดชาวนาใกล้ๆ บ้านคุณได้สะดวกยิ่งขึ้นกันคะ

ลองเช็คเว็บ Asaichi ดูก่อนเลย!  

เว็บนี้จะให้คุณได้ค้นหาเหล่าตลาดชาวนาทั่วประเทศนี้ แม้จะไม่ได้บอกทุกที่ก็ตาม คงเป็นเพราะที่เว็บนี้ใช้ระบบให้ผู้เข้าชมเพิ่มเติมข้อมูลเข้าไปเอง (เพราะนี่แหละมั่งจึงทำให้บอกข้อมูลได้ไม่หมด)

ซึ่งข้อมูลในเว็บนี้ล้วนแสดงในรูปแบบภาษาญี่ปุ่นทั้งหมด แต่ก็คงไม่ได้ยากอะไรหรอกนะคะ ถ้าคุณรู้ทางต่างๆ ในประเทศนี้พอสมควร

ลองใช้คำค้นหาว่า  “ファーマーズマーケット” หรือ “朝市” ใน 

ลองใช้ทั้งสองคำนี้ดูนะคะ มันอาจมีขึ้นแสดงมาบ้างสักที่สองที่ก็เป็นได้ แต่จากประสบการณ์ของฉันที่เคยใช้นะ มันก็คือบ้างแต่ไม่หมดทุกที่

ลองใช้คำค้นหาว่า “朝市” เพิ่มด้วยเมือง/เขต ที่คุณอยู่ในภาษาญี่ปุ่น

ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณอยู่ที่เมืองโยโกฮาม่า คุณก็ลองใช้คำค้นหาว่า ““朝市 横浜” ดูคุณจะพบว่ามีหลายที่

แสดงขึ้นมาทีเดียวเชียว – และยังแสดงผลค้นหาที่แนะนำโดยทางเทศบาลเมืองโดยเช่นกัน

เข้าเว็บไซด์ทางการในเมืองที่คุณอยู่ และใช้คำค้นหาว่า “朝市”

หรือคุณลองเข้าไปถามที่ศาลากลางเมืองโดยตรงเลยก็ได้คะ ว่าคุณรู้จักตลาดชาวนาแถวนี้ๆ บ้างไหม (ด้วยประโยคง่ายๆ ดังต่อไปนี้ “asaichi wa chikaku ni arimasu ka”.)

แนะนำเลยว่าถ้าเป็นไปได้เลยเมื่อไปถึงแล้ว ลองซื้อข้าวสารจากพ่อค้าแม่ค้าชาวนาเหล่านี้ดูนะคะ แต่เฉพาะเมื่อคุณผู้พูดภาษาญี่ปุ่นได้นะคะ หรือว่าลองซื้อกับคนขายที่พูดภาษาอังกฤษได้ดู เพราะเท่านี้คุณก็เหมือนได้ช่วยส่งเสริมพวกเค้าอีกทางหนึ่งคะ

แล้วคุณละคะเคยไปที่ตลาดชาวนาพวกนี้บ้างไหมเอ่ย หรือ มีที่ไหนสักที่ที่อยากจะแนะนำก็ได้เลยคะ

Category: ตลาด

อะไรคือ “เครื่องดื่มแคลอรี่น้อย” กัน แล้วเราควรจะใส่ใจเรื่องนี้ไปทำไม

Posted on by

ในช่วงเวลาที่อยู่ที่นี้ ฉันเองก็ได้ผ่านเห็นการเปลื่ยนแปลงของที่นี้หลายสิ่งแม้มันจะค่อยๆ ช้าๆ ก็ตามที หนึ่งในนั้นก็คือในเรื่องของเครื่องดื่มจำพวก “แครอรี่น้อย” นี่แหละ เมื่อฉันมาอยู่ที่นี่แรกๆ ใหม่ๆ นั้นเครื่องดื่มจำพวกนี้มีให้เลือกไม่เยอะเท่าไรนักหรอก แต่หลายๆ ปีผ่านไป เครื่องดื่มๆ หลายยี่ห้อต่างก็เปลื่ยนโฉมตัวเองกลายเป็นแบบ “แครอรี่น้อย” กันไปหมดสิ้น รวมทั้งเครื่องดื่มโปรดของดิฉันอย่าง Mitsuya Cider ด้วยเช่นกัน (ฉันเองก็ชอบยี่ห้อ CC Lemon เหมือนกันนะ แต่ยี่ห้อนี่กลับโดนมากกว่า)

ณ ตอนนี้ในร้านสะดวกซื้อหลายๆ สาขาแถวบ้านๆ  コンビニ (ร้านสะดวกซื้อ) การที่จะหาน้ำอัดลมอะไรก็ตามที่ไม่ใช่ “แครอรี่น้อย” สักกระป๋องนั้นกลับกลายเป็นเรื่องยากแทนพอดูเชียว (แม้ไม่ใช่น้ำอัดลมก็ตาม) โดยปรกติฉันก็ไม่ได้ื่มน้ำอะไรนอกจากน้ำเปล่าเป็นประจำซะมากกว่า (นอกจากชาหรือพวกน้ำผลไม้) ซึ่งบางครั้งบางคราวก็มีรุ่น “พิเศษจำนวนจำกัด” วางขายอยู่ ฉันก็เลยขอลองสักหน่อย และคุณเดาได้เลยว่า เจ้าเครื่องดื่มพวกนี้ก็”แคลอรี่น้อย” เช่นกัน

แล้วอะไรกันคือ เครื่องดื่ม “แคลอรี่น้อย” พวกนี้กัน ว่ากันง่ายๆ ก็คือเครื่องดื่มใช้ส่วนผสมของสารให้ความหวานแทนน้ำตาลจริงๆ ซึ่งโดยปรกติแล้วมักจะใช้ซูคราโลสเป็นส่วนผสมให้ความหวานหลักแทน แม้น้ำตาลหรือน้ำเชื่อมข้าวโพดโดยปรกติแล้วนั้นก็ไม่ดีต่อสุขภาพของเรากันอยู่แล้ว แต่ก็มีบางคนคิดว่าการที่เราได้รับ แคลอรี่ แบบ ต่ำๆ หรือ น้อยๆ นั้นก็เป็นหนทางหนึ่งในการรักษาสุขภาพในรูปแบบทางหนึ่งแทน

ซึ่งการดูฉลากพวกเครื่องดื่มแคลอรี่น้อยนั้น คุณสามารถสังเกตได้ที่ฉลากดังต่อไปนี้

カロリーオフ (ปลอดแคลอรี่)

ゼロカロリー (แคลอรี่ศูนย์เปอร์เซ็นต์)

カロリーゼロ (แคลอรี่เป็นศูนย์)

และเมื่อคุณพลิกดูในส่วนของส่วนประกอบแล้วล่ะก็ ส่วนมากแล้วคุณก็จะเห็นเจ้า ซูคราโลส เป็นส่วนประกอบอยู่ในนั้นด้วยเช่นกัน スクラロース (sucralose).

บางครั้งคุณเองก็จะเห็นว่ามีส่วนผสมเพิ่มอย่าง หญ้าหวาน นั้นเป็นส่วนประกอบเพิ่มเข้าไปด้วยในส่วนของสารให้ความหวานแทน ซึ่งไม่มีผลเสียอย่างใดแก่สุขภาพ (ซึ่งเจ้าหญ้าหวานนี้มีรสหวานธรรมชาติที่มากกว่าน้ำตาลอยู่แล้ว จึงใช้ในแค่ปริมาณที่เล็กน้อยผสมลงไปเท่านั้น) แต่อย่างไรก็ตาม พวกเครื่องดื่มและอาหารส่วนมากที่มีส่วนผสมของหญ้าหวานพวกนี้มักจะมีส่วนผสมของสารให้ความหวานเพิ่มเข้าไปด้วย เพราะเนื่องจากอาจหวานไม่พอสำหรับอาหารหรือเครื่องดื่มดังกล่าว

ซึ่งในท้ายสุดแล้วเกิดความกังวลเกี่ยวกับเจ้าสารให้ความหวานพวกนี้ล่ะก็ ก็ควรหลีกเลี่ยงพวกเครื่องดื่ม “แคลอรี่น้อย” นี่ด้วยเช่นกัน

วิธีการหาผักเคลในประเทศญุี่ปุ่น โดย แอซลี่ย์

Posted on by

อ๊า! พบซะที! เจ้าผักเคลในประเทศนี้ ฟังดูควรจะเป็นเรื่องเหล่านี้ควรจะเป็นเรื่องง่ายๆ ใช่ไหมล่ะคะ ที่จะหาผักเคลในประเทษนี้ ถ้าคุณไม่หมายเจ้าพวกกล่องและซองน้ำผักเคลที่หาได้ทั่วไปตามร้านค้าต่างๆ ก็นะ (あおじる, aojiru, น้ำผักสีเขียว ส่วนมากแล้วมักอยู่ในรูปของผง) แม้คุณจะใช้คำว่าผักเคลในภาษาญี่ปุ่นอย่าง ““ケール” (kale)” แต่ในเนตก็ล้วนแต่เจอเจ้าผงผสมน้ำยี่ห้อนี้เต็มไปหมด แม้ตัวฉันเองก็ชอบดื่มมันก็ตามทีก็ตาม (สำหรับคนที่ไม่รู้ ผงยี่ห้อ Aojiru นี้ก็มีส่วนผสมของหญ้าบาร์เลย์และผักสีเขียวอื่นๆ ผสมอยู่ในนั้นด้วย) โดยเหมาะมากถ้าเอาเจ้าผงน้ำผักแสนอร่อยนี้ไปเติมรสชาติให้กับน้ำปั่น นม หรือ แค่น้ำเปล่าเฉยๆ ก็ล้วนทำให้เครื่องดื่มในแก้วนั้นรสชาติเยี่ยมยิ่งขึ้นไปอีกเช่นกันคะ ถึงแม้ฉันจะเป็นแฟนตัวยงของเจ้าผงผักละลายน้ำยี่ห้อนี้ ก็มันก็นะ เมื่อยากทำน้ำผักเพื่อสุขภาพจริงๆ สักแก้วแล้ว มันจะยากอะไรเล่าที่จะหาเจ้าใบผักเคลจริงๆ คงจะไม่ลำบากอะไรมากนักหรอกนะ

กรรมจริง..จนตอนนี้ เมื่อเดินหาตามร้านค้าแถวบ้านฉันก็ไม่เห็นวี่แววของเจ้าผักเคลสดๆ นี้วางขายอยู่สักใบเดียว แม้จะลองค้นหาตามเว็บดู ผลลัพธ์ก็ไม่มีอะไรดีเกิดขึ้นเช่นกัน จนกระทั่งเมื่อวาน ฉันก็ลองค้นหาผ่านเว็บอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ฉันใช้คำในการค้นหาว่า “ใบเคล” แทน และทันใดนั้น! ในที่สุดมันก็แสดงขึ้นมา! และนี่ฉันพบว่า เราควรจะใช้คำค้นหาเจ้าผักสดๆ นี่สองวิธีอันได้แก่

 

อีกทั้งคุณยังสามารถเลือกซื้อหาผักเคลสดๆ ได้มากมายหลายเว็บโดยใช้คำค้นหาเหล่านี้ พร้อมๆ กับเว็บเหล่านี้ที่ฉันแนะนำข้างล่างก็ได้เช่นกัน (แม้บางเว็บก็อาจส่งของให้คุณไม่ได้เนื่องจากติดเหตุผลของฤดูกาล)

Ryokuoukan Net Store (緑王館ネットストア)  –  ผักเคลของที่นี้ปลอดสารพิษ

Tohoku Bokujo (東北牧場)  – ผักเคลของที่นี้ก็ปลอดสารพิษเช่นเดียวกัน แต่จะมีขายเฉพาะในช่วงต้นฤดูร้อนและช่วงปลายของฤดูดั่งกล่าวเท่านั้น

Masuda Online Shop (マスダオンラインショープ)

Tokai Aojiru  –  เว็บนี้คุณจะได้เจอผักเคลทั้งในรูปแบบของผง ใบ ไปจนถึงแบบแช่แข็งกันเลยทีเดียว และ แน่นอนอีกว่าผลิตภัณฑ์ของที่นี้ล้วนปลอดสารพิษเช่นเดียวกัน

พูดตามตรงเลยว่า ฉันแทบจะรอไม่ไหวแล้วที่จะสั่งเจ้าพวกใบเคลสดๆ มาทอดกรอบกินจนแทบไม่ไหวกันเลยทีเดียวคะ!

วิธีการหาซีสโดนๆ ได้ในญุี่ปุ่น โดย แอซลี่ย์

Posted on by

พวกเราชาวฝรั่งส่วนมากที่อาศัยในประเทศนี้ต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันเลยว่า การที่จะหาชีสโดนๆ สักก้อนในประเทศนี้นั้นช่างเป็นงานยากพอดู (คนละชีสกับชีสแบบญี่ปุ่นนะคะ) ถึงแม้บางที่คุณจะเหลือบไปเห็นเชดด้าชีสวางขายอยู่บ้าง แต่ราคาและขนาดของมันนั้น ก็ช่างแตกต่างซะเหลือเกินจากที่ประเทศบ้านของคุณ (และฉันก็แน่ใจได้เลยว่าขนาดของพวกชีสและราคานั้นแตกต่างกันในหลายๆ ประเทศแน่นอน) เรื่องนี้ดูแปลกพอดูไหมบ้างล่ะคะ ยังไม่พอ ตั้งแต่ฉันตั้งครรถ์และมาอาศัยอยู่ที่นี้ ความอยากอาหารแบบมันๆ เลี่ยนๆ เค็ม อย่างอาหารอเมริกันนั้น ฉันก็พลอยอดคิดถึงกันบ้าง (แม้ไม่บ่อยก็เหอะ) อย่างเช่นพวก ลาซานญ่า หรือ ขนมปังกลมของเม็กซิโกที่สอดใส้เนื้อและผัก (enchiladas) เป็นพิเศษ

รู้คะรู้ว่าอาหารพวกนี้มันไม่ใ่ช่อาหารอเมริกันหรอก แต่อย่างว่าล่ะ อาหารชนิดแท้ๆ แบบอเมริกันประเทศฉันนี่มีจริงๆ บ้างไหม นอกจากจะไปยืมสูตรการทำของประเทศอื่นๆ กันมา – แต่อาหารแบบนี้ล่ะคะที่ฉันกินแล้วเกิดความ “สบายใจ” กันฉัน เหมือนดั่งเช่น เจ้าลาซานญ่า นี่ไง

โดยอาหารพวกนี้มันจะต้องใช้ชีสในปริมาณพอดูที่จะทำ โดยเฉพาะต้องใช้ชีสแบบริคอตต้าในการทำลาซานญ่าเท่านั้น แม้ฉันจะหาเชดด้าชีส, พาเมซานชีส หรือชีสอื่นๆ ใกล้เคียงกันได้อยู่บ้างตามร้านใกล้ๆ บ้าน แต่ก็มีขนาดที่เล็กและแสงแพงพอดูเลยล่ะ โดยน่าจะราคาประมาณ 500-700 เยน. ถึงแม้ร้านขายของนำเข้าใกล้บ้านของดิฉัน ซึ่งมีชีสหลายๆ แบบไว้ให้เลือกซื้อนั้น (ซึ่งในนี้มีชีสมากมายหลายแบบ แบบที่คุณหาไม่ได้ในร้านทั่วไปๆ ) ซึ่งมีชีสขนาดใหญ่เป็นสองเท่าในราคาที่ถูกลงเหลือสัก 400 เยน (หรือราคามากกว่านั้นตามยี่ห้อที่คุณเลือก) แม้เจ้าชีสริคอตต้าจะไม่มีขายตามร้านทั่วไปๆ แต่ในที่สุดก็เจอขายที่ร้านขายของนำเข้านี้จนได้ (ถ้าผู้อ่านได้ราคาที่ถูกกว่านี้แล้วล่ะก็ บอกฉันด้วยนะ) ในราคาแสนแพงอยู่ที่ 900 เยน (250 กรัม) จะบอกว่ายังไงดี เอาเป็นว่า เจ้าลาซานญ่านี้เราไม่ได้กินบ่อยก็แล้วกัน (แต่มันคุ้มนะที่จะได้กิน)

ก่อนที่เราจะมาหาชีสกัน โดยข้างล่างนี้ฉันได้ทำตารางศัพท์ภาษาชีสที่ได้แปลเป็นภาษาญี่ป่นไว้บ้างแล้ว ขอบอกไว้เลยว่า แม้จะไม่ได้มีศัพท์เรียกชีสทั้งหมด เพราะฉันเองก็ไม่ได้ผู้รู้เรื่องชีสอะไรมากมายหรอกคะ แต่ฉันจะเอาชีสแบบที่คนที่นี้พอหรือรู้จักกันบ้างในที่นี้ ไม่ต้องกังวลถึงแม้มันจะเขียนในแบบคะตะกะนะ แต่ถ้าคุณออกเสียงได้ล่ะก็ คุณก็มักจะได้ในสิ่งที่ต้องการหาอยู่พอดีละคะ

                           ชีส                ภาษาญี่ปุ่น
ชีสบรี                    (Brie)                     ブリー
ชีสกามองแบร์   (Camembert)                 カマンベール
ชีสเชดด้า   (Cheddar)                  チェダー
ชีสโคลบี้แจ๊ค (Colby Jack)             コルビージャック
ครีมชีส  (Cream cheese)         クリームチーズ
ชีสอีดัม (Edam)         エダム
ชีสเอมมองตัลแบบสวิส

Emmental (Swiss cheese)

           

    エメンタール                         

ชีสเฟต้า (Feta)     フェタ
ชีสกอร์กอนโซล่า (Gorgonzola)       ゴルゴンゾーラ
ชีสเกาด้า (Gouda)       ゴーダ
ชีสมาสคาโปนชีส (Mascarpone)     マスカルポーネ
ชีสมอนเทอเร แจ๊ค (Monterey Jack)     モントレージャック
ชีสมอสซาเรลลา  (Mozzarella)   モッツァレッラ
ชีสพามิซาน   (Parmesan)   パルミジャーノ レッジャーノ
ชีสริคอตต้า    (Ricotta)   リコッタ

แล้วคุณจะหาชีสพวกนี้ได้จากที่่ไหนกันในประเทศนี้ ?

ร้านซุปเปอร์มาร์เก็ตใกล้บ้าน

โอเค ข้อนี้ก็รู้ๆ กันอยู่ ลองสำรวจร้านขายพวกนี้ใกล้ๆ บ้านคุณดูเป็นที่แรก แม้ส่วนมากจะเจอแต่พวก ครีมชีส หรือ ชีสพามิซานในขวด วางขายอยู่ซึ่งไม่ใช่ในสิ่งที่คุณกำลังหาอยู่ล่ะก็ บางทีอีกร้านก็อาจมีก็เป็นได้ อย่างที่ฉันเคยบอกว่า ฉันเองนั้นก็พบชีสพวก เซดด้า, กา-มอง-แบร์, ชีสบรี หรือชีสอื่นๆ ได้ในร้านขายของพวกนี้เหมือนกันสักที่นึง (แม้จะมีจำนวนวางขายไม่มากก็ตาม)  แม้ดูเหมือนว่าชีสพามิซาน, ครีมชีส, มอสซาเรลลา จะดูเหมือนหาได้ง่ายทั่วไป (ขายในแบบถุงเป็นชิ้นๆ) แต่ดูเหมือนว่าชีสเจ้าชีสมอสซาเรลลาชิ้นนี้กลับไม่เหมือนกับแบบเดียวกันที่ฉันคุ้นเคยดี (เค็มกว่า) ฉันก็เลยคิดว่าจะไปซื้อชีสที่ร้านใหม่แทน แม้คุณจะสามารถหา “ชีสพิซซ่า” แบบฝอยได้ก็ตามในที่นี้ แต่โดยสัตย์จริงแล้วล่ะก็ ฉันไม่เคยคิดว่ามันจะช่วยทำให้อาหารดูน่ากินมากขึ้นสักเท่าไรกัน อีกทั้งบางร้านก็ยังมีชีสเกาด้าขายแบบถุงชิ้นเล็กๆ ด้วยเช่นกัน

Order Cheese

เมื่อเดือนก่อนหรือราวๆ นั้น ฉันได้พบเว็บไซด์หนึ่งที่มีชื่อว่า Order Cheese ซึ่งเป็นเว็บไซด์รวมขายชีสแบบพิเศษไว้มากมายที่บังเอิญได้เจอเจ้าเว็บนี้เมื่อตอนที่ฉันกำลังหาชีสริคอตต้าอยู่ (ท้องอยู่ตอนนี้ก็เลยอยากตามๆ ใจปากสักครั้งด้วยลาซานญ่ามาก) โดยในเว็บนี้มีชีสแบบพิเศษมากมายหลายชนิดในเลือกสรรค์ ในราคาที่พอเหมาะ ที่จริงแล้วชีสพิเศษบางประเภทนั้นก็มีราคาค่าตัวไม่ใช่เบาเหมือนกัน แต่มันก็คุ้มนะที่เอามันไปทำอาหารที่เหมาะสม โดยในเว็บนี้รองรับการจ่ายด้วยการเก็บเงินปลายทางพร้อมจัดส่งทั่วประเทศ

ร้านขายของนำเข้า

มันก็แน่นอนล่ะว่าก็ต้องมีที่นี่ด้วย ร้านที่อยากจะแนะนำนั่นก็คือร้าน Kaldi เพราะมีร้านนี้มีสาขาเปิดอยู่มากมายในประเทษนี้ (แม้จะไม่มีทั่วประเทศก็ตาม) ซึ่งในร้านนี้นอกจากคุณจะพบพวกชีสนำเข้าดีๆ แล้วล่ะก็ ที่นี้ยังมีเมล็ดกาแฟให้เลือกซื้อโดยเช่นเดียวกัน โดยคุณสามารถเลือกซื้อสินค้าของที่นี่ผ่านทางออนไลน์ของ Rakuten และ Yahoo ได้อีกทางหนึ่งด้วย. ร้าน Seijo Ishii นี่ก็เป็นอี่กร้านหนึ่งที่ดีเช่นเดียวกัน แม้จะมีสาขาไม่มากเท่าแต่ที่นี่ก็ยังสามารถซ็อปผ่านออนไลน์ได้ด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งทั้งสองร้านนี้ก็มีชีสดีๆ ในเลือกซื้อมากมาย รวมไปถึงร้านอื่นๆ นอกจากที่เอ่ยมาด้วย

Amazon.jp

โดยในเว็บนี้มีชีสให้คุณได้เลือกซื้อ ตั้งแต่ เชดด้า, พามิซาน, กา-มอง-แบร์ , ครีมชีส,มอสซาเรลลา , อีดัม, บรี, เฟต้า ฯลฯ

Flying Pig

คุณสามารถเลือกซื้อชีสในขนาดใหญ่เป็นพิเศษได้ในร้านนี้ ซึ่งมีขายทั้งชีสเซดด้า (แบบก้อนแดงและก้อนขาว รสชาติแบบคมหรือปานกลาง) เกาด้า, มอสซาเรลลา, พามิซาน, โคลบี้แจ๊ค, คอทเทจชีส, และ ครีมชีส

Foreign Buyer’s Club

มีขายทั้งชีสเชดด้า (ขายทั้งแบบก้อนแดงหรือขาว มีทั้งรสชาติแบบคม ปานกลาง จนถึง อ่อนๆ), โคลบี้แจ๊ค, เกาด้า, ริคอตต้า, มารีโบ, แอ็มเม็นทอล, อีดัม, ฮาวาติ, มาสคาโปน ฯลฯ

Tengu Natural Foods

หนึ่งในร้านขายของโปรดประจำของฉัน (แม้โดยส่วนมากจะไม่ค่อยซื้อชีสก็ตาม) ที่นี้มีขายทั้ง ชีสเชดด้า, มอสซาเรลลา, และ ครีมชีส

 

ใครคือบล็อกเกอร์อาหารญี่ปุ่นสุดโปรดในดวงใจของคุณกัน? โดย แอซลี่ย์

Posted on by

หลายวันก่อนได้มีคนถามฉันในทวิตเตอร์ว่า ฉันเอาข้อมูลพวกสูตรอาหารญุี่ปุ่นจากเว็บไหนกันบ้าง (เว็บภาษาอังกฤษพร้อมด้วยสูตรการทำ) วันนี้ฉันก็เลยจัดให้ แน่นอนเลยว่าตอนคุณมาอยู่ที่ประเทศนี้แรกๆ คุณจะได้เจอวัตถุดิบใหม่ๆ ของประเทศนี้ซึ่งคุณไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันทำอะไรได้บ้าง (ซึ่งบางอย่างคุณก็พออาจคุ้นเคยอยู่บ้างก่อนหน้ากันมาบ้างอ่ะนะ) ซึ่งแน่นอนว่ามีเว็บไซด์ข้อมูลมากมายเลยล่ะ ที่คุณจะสามารถค้นหาสูตรอาหารพอคุ้นเคยกันอยู่บ้างมาลองทำกันดู

และจากประสบการณ์ของฉันเอง บางอย่างนั้นอาจทำได้ยากอยู่บ้างเมื่อมาอยู่นี้ และ

บางอย่างอีกเช่นเดียวกันที่ดูเหมือนใช้ค่าใช้จ่ายมากกว่าตอนที่ทำอยู่ที่่ประเทศบ้านซะอีก แต่รวมๆ แล้วล่ะก็ ฉันก็ยังแฮปปี้อยู่บ้างๆ พอดู เพราะสามีและฉันต่างได้ทำอาหารหลากหลายไว้มากมายพอดู ไม่ได้มีแค่เฉพาะแค่อาหารญุี่ปุ่นเท่านั้นนะ แต่ยังรวมไปถึงอาหารพิเศษๆ อย่างพวกอาหารเพื่อสุขภาพอีกด้วย (ในบล็อกของฉันเนี่ยมีเต็มไปหมดจนแสดงไม่หวาดไม่ไหวเลย)

โดยในวันนี้เองฉันก็เลยอยากจะแนะนำบล็อกอาหารญุี่ปุ่นสุดโปรดของฉันกันสักนิดนึง ซึ่งถ้าฉันพลาดบล็อกโปรดของพวกคุณอะไรไว้บ้างล่ะก็ โปรดแนะนำลงไปด้วยได้เลยในส่วนของช่องแสดงความคิดเห็นข้างล่างได้เลยนะคะ (ฉันรู้ดีว่ามีบล็อกแบบนี้เป็นร้อยๆ เลย ที่เกี่ยวกับอาหารซึ่งไม่แค่เฉพาะอาหารเท่านั้น ยังรวมไปถึงการแนะนำร้านอาหารหรืออะไรโดนๆ ด้วยเช่นกัน แต่วันนี้ฉันจะมาแนะนำเฉพาะในบล็อกโปรดของดิฉัน โดยบล็อกเหล่านี้นั้นจะมีสูตรให้ไปศึกษาและลองทำตามกันดู)

Just Hungry และ Just Bento – โดยทั้งสองเว็บมีคนเขียนคนเดียวกันคือ คุณ Makiko Itoh, ซึ่งทั้งสองเว็บต่างมีสูตรอาหารญี่ปุ่นมากมายกำลังให้คุณเข้ามาเยี่ยมชมชนิดแบบห้ามพลาดเด็ดขาด (แนะนำอย่างยิ่งเลยสำหรับผู้ที่ไม่เคยเข้าครัวทำอำหารมาก่อน)

Tokyo Terrace – เขียนโดยคุณ Rachel อีกหนึ่งบล็อกเกอร์จากเว็บไซด์นี้ นอกจากชำช่องเรื่องการเขียนแล้ว เธอยังชำช่องในการสรรค์หาเครื่องปรุงเด็ดๆ รอบตัวเธอมาสร้างเป็นเมนูใหม่ๆ ได้เยี่ยมอีกด้วยเช่นกัน

Lovely Lanvin – เขียนโดยคุณ Shirley, แม้ตัวเธอเองตอนนี้จะะอยู่ที่ซีแอตเติล แต่ความชอบในอาหารนั้นก็ไม่อาจหยุดเธอไว้ได้กลับอีกหนึ่งยอดบล็อกเกอร์ผู้รอบรู้ข้อมูลด้านสูตรอาหารญี่ปุ่น (เธอเองก็เขียนบทความ ทริปเล็กๆ น้อยๆ ในการใช้ชีวิตในประเทศญี่ปุ่นให้กลับเว็บไซด์นี้ด้วยเหมือนกัน)

Cooking in Japan – เขียนโดยคุณ Kirksten ผู้ซึ่งเน้นในเรื่องการทำอาหารเพื่อสุขภาพเป็นหลักจากวัตถุดิบท้องถิ่น คนนี้ก็อย่าพลาดเช่นเดียวกัน

Raw Bento – ของเด็ดสำหรับผู้ที่ชื่นชอบกินอาหารดิบๆ  โดยคุณ Yu Ming นั้นได้เขียนบทความมากมายเกี่ยวกับการกินอาหารแบบดิบๆ ของประเทศนี้ไว้เมื่อเธอยังเคยอาศัยอยู่ที่นี่ แม้คุณจะไม่ใช่คออาหารดิบเหมือนอย่างเธอแล้วล่ะก็ บทความบางเรื่องของเธอนั้น บางทีอาจทำให้คุณเกิดแรงดลใจหรือโดนบางอย่างเหมือนกันก็ได้นะคะ (เธอเองก็เขียนบทความในเรื่องของการบำรุงผิวให้กับในเว็บนี้ด้วยเหมือนกัน)

She Who Eats – บล็อกที่เกี่ยวกับอาหารและเรื่องครุ่นคิดในประเทศนี้ แต่โดยปรกติแล้วจะเน้นไปที่เรื่องสูตรอาหารซะมากกว่า

La Fuji Eats – เขียนโดยอีกหนึ่งคุณ Rachael แม้ตอนนี้เธอจะไม่ได้อยู่ในประเทศนี้อีกต่อไป โดยในเว็บนี้คุณจะได้พบกับสูตรอาหารทั่วโลกมากมายในเว็บนี้ ซึ่งรวมไปถึงสูตรอาหารที่จำเพาะเจาะจงโดยต้องใช้วัตถุดิบหรือญี่ปุ่นโดยเฉพาะเท่านั้น

Savory Japan – มีสูตรอาหารญี่ปุ่นเยอะอยู่ในนี้เช่นเดียวกัน

นอกจากนี้คุณผู้อ่านยังสามารถค้นหาไดเดียสูตรอาหารใหม่ๆ ได้โดยบล็อกเกอร์คนอื่นๆ ที่ต่างส่งสูตรของตนเองได้ผ่านทางหัวข้อ November Japan Blog Matsuri ได้ในที่นี้เช่นเดียวกัน(โดยธีมหลักของบล็อกนี้คือเรื่องของอาหาร!)

แล้วคุณล่ะคะ คุณได้พบเว็บบล็อกสูตรอาหารเด็ดๆ จากที่ใดบ้างกันหรือเปล่า?

เราจะหาร้านปลอดบุหรี่ที่ประเทศญีุ่ปุ่นได้ยังไงกัน แอซลี่ย์

Posted on by

เมื่อก่อนการไปกินข้าวนอกบ้านอาจดูเป็นภาระหนักใจสักนิดนึงถ้าคุณเป็นคนที่ไม่ได้สูบ(อย่างฉันเป็นต้น) แต่ตอนนี้ทุกอย่างได้เปลื่ยนไปแล้ว ร้านรวงหลายๆ ร้าน ณ ตอนนี้ต่างเริ่มที่จะให้ความสำคัญกับพื้นที่ปลอดบุหรี่มากยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อนเยอะ โดยบางร้านอาจจัดให้มีบริเวณเล็กๆ หรือเขตที่ทำไว้ให้เฉพาะสำหรับผู้สูบบุหรี่เลยทีเดียว อย่างเช่นในเขตจังหวัดคานากาว่านั้นได้ริิิเริ่มเป็นพื้นที่เขตจังหวัดปลอดบุหรี่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยกำหนดให้มีการห้ามการสูบบุหรี่ในที่สาธารณะอย่างใน ชายหาด โรงเรียน หรือ แม้แต่ในโรงพยาบาล (ที่จริงที่เหล่านี้ก็เป็นเขตปลอดบุหรี่ในประเทศนี้อยู่แล้วก็อ่ะนะ) เว้นแต่สถานที่นั้น จะได้มีการจัดสถานหรือพื้นที่ดังกล่าวโดยเฉพาะให้ ซึ่งคิดๆ ไป ฉันก็เคยคิดว่าอยากจะไปอยู่ที่จังหวัดนั้นจังบ้างนะ ด้วยเหตุผลๆ หลักๆ ก็เพราะเรื่องนี้แหละ

อันที่จริงฉันก็ไม่ได้ถือสาอะไรมากมายกับคนสูบหรอกนะ แต่อย่างว่าล่ะมันก็เป็นความชอบส่วนตนซึ่งฉันก็เห็นว่าไม่ได้เป็นเรื่องอะไรมากมาย แต่เจ้าเรื่องนี้ฉันคิดว่ามันจะเป็นปัญหาพอดูสำหรับ เด็กและหญิงที่กำลังตั้งครรถ์อยู่ที่จำเป็นต้องอยู่ใกล้ๆ กับคนพวกนั้นซึ่่งบางครั้งนั้นก็หลีกหนีไปไม่ได้ โดยที่ต้องหายใจรับควันเข้าไปโดยไม่รู้ตัว แม้ตัวฉันเองนั้นจะแพ้ควันเหมือนกันด้วยเช่นกันก็เหอะ (แต่เรื่องนีี้ฉันก็ไม่ได้คิดอะไรมากหรอกนะ) แต่สำหรับคนที่ไม่ชอบหรือสูบบุรี่แล้วล่ะก็ บางครั้งก็เป็นเรื่องยากเอาการที่คุณจะหาที่สักที่ ที่คุณจะไม่ได้เจอเจ้ากลิ่นควันพวกนี้มารบกวนใจคุณ

แม้ร้านอาหารที่อนุญาติให้คุณสูบบุหรี่ได้จะบริการอยู่ทั่วไป ซึ่งบางร้านนั้นอาจมีการแบ่งพื้นที่สำหรับคนสูบและไม่สูบไว้ เป็นหลักแหล่งเรียบร้อย จากประสบการณ์ของฉันเรื่องนี้ฉันขอรับลองเลยว่าในประเทศนี้ ร้านส่วนใหญ่นั้นแทบจะไม่มีพื้นที่แบ่งไว้ให้หรอกนะ ซึ่งถ้าบางครั้งการเจอสิงห์อมควันใกล้ๆ นั่งกินอาหารอยู่ใกล้ๆ คุณนั้นอาจเป็นเรื่องที่น่าลำบากใจสักนิดนึง แต่อย่างว่าล่ะ เค้าก็มีสิทธิสูบอ่ะนะ แต่สำหรับฉันแล้ว ควันบุหรี่นี่ทำรสอาหารเสียหมดพอดู ซึ่งฉันก็พยายามหาทางหลบๆ อยู่บ้าง ถ้ามันมีโอกาสเป็นไปได้

แต่จะทำไงได้ล่ะเพราะเรื่องเหล่านี้มันก็พูดง่ายทำยากนี่หน่า…

วันต่อมาสามีและฉันก็รู้สึกขี้เกียจขึ้นมาในวันนั้น จึงอยากหาร้านนอกบ้านสักร้านทานแทน โดยวันนั้นฉันรู้สึกไม่ค่อยสบายตัวอยู่เช่นเดียวกัน จึงคิดอยากจะหาร้านที่ปลอดควันบุหรี่่สักร้านนึงด้วยก็ดี ไม่รู้ว่าผู้อ่านได้เคยได้ยินเว็บไซด์นี้กันบ้างหรือเปล่าคะ Tabelog (食べログ),   มันเป็นเว็บไซด์ดีๆ สำหรับค้นหาร้านอาหารดีๆ ในประเทศนี้ ซึ่งนับว่าใช้ได้ดีทีเดียวเลยล่ะคะ แม้ฉันจะใช้เจ้าเว็บนี้ค้นหาร้านดีๆ  บ่อยๆ แต่เจ้าเว็บนี้มันก็ที่จะไม่ชอบบอกว่าเจ้าร้านที่ฉันมองๆ อยู่ไว้เนี่ย มันเป็นร้านที่ปลอดบุหรี่หรือเปล่า, ได้มีการแบ่งห้องไว้บ้างไหม (บางที่ก็บอกนะ แต่ส่วนมากกลับไม่ค่อยขึ้นบอกซะมากกว่า) ซึ่งด้วยเหตุนี้ถ้าเราอยากจะให้แน่ใจแล้วล่ะก็ เราก็จำเป็นต้องโทรไปถามที่ร้านโดยตรงแต่อย่างว่าล่ะ เมื่อโทรถามหลายๆ ที่มันก็เกิดความน่ารำคานขึ้นมาบ้างก็ได้

ฉันจึงเปิดกูเกิ้ลค้นหาขึ้นมาหาเว็บใหม่ พร้อมใช้คำในภาษาญุี่ปุ่นในทุกความหมายของคำว่า “ร้านปลอดบุหรี่” (ดูฉลาดใช่ไหมล่ะ!) และทันใดนั้นเอง ฉันก็พบกับเจ้าเว็บไซด์ใหม่ชื่อว่า “Kinen Style” หรือที่จริงแล้วก็คือ , “禁煙スタイル” (Non-smoking style ; รูปแบบร้านปลอดควันบุหรี่).

เว็บไซด์นี้คุณสามารถค้นหาร้านที่ต้องการได้ด้วย คำค้นหา อย่าง ประเภทของอาหาร, สถานที่ (ซึ่งทั้งหมดล้วนแสดงเป็นภาษาญุี่ปุ่น) ฉันจีงเริ่มค้นหาร้านที่ฉันต้องการด้วยการใส่ชื่อเมืองที่อาศัยอยู่ลงไป ผลลัพธ์จึงแสดงออกมาเหมือนดั่งที่เห็นรูปข้างล่างนี้

เมื่อเราเลือกบริเวณค้นหาที่อยากจะค้นแล้ว ผลลัพธ์ที่แสดงออกมาจะเห็นว่ามีตัวเลือกย่อยลงไปอีกว่า คุณต้องการร้านอาหารในรูปแบบใด ซึ่งทุกร้านนั้นเราสามารถคลิกเพื่อดูข้อมูลจำเพาะขึ้นไปอีกได้ และแน่นอนด้วยว่าในตัวเลือกดั่งกล่าวนี้ ก็ได้มีการแบ่งออกอีกว่า เป็นร้านที่ปลอดบุหรีหรือไม่เช่นเดียวกัน

แม้ตัวเลือกจะมีมากมายหลายคำให้ค้นหา แบบว่ามีบางร้านฉันนั้นก็ไม่เคยรู้มาก่อนว่าจะมีในนี้ด้วย และบางร้านที่ควรจะมีชื่ออยู่ในนี้ ก็กลับหาไม่เจอ ซึ่งอาจเพราะด้วยเหตุว่าเว็บนี้ใครก็ตามก็สามารถเข้าไปเพิ่มหรือแก้ไขข้อมูลได้ด้วยตนเองได้นั่นเอง ซึ่งบางทีมันก็ต้องใช้เวลาเพิ่มข้อมูลใหม่ๆ เข้าไปอีกนึงนิด

เมื่อคุณเจอร้านที่คุณค้นหาแล้ว ในนี้คุณยังสามารถดูข้อมูลแบบเจาะจงของร้านได้ ซึ่งในนี้จะบอกทั้งวันเวลาเปิดปิด, แผนที่, มีที่สำหรับจอดรถไหม, และแน่นอน ว่า ที่นี้เป็นร้านปลอดบุหรี่หรือได้มีการจัดส่วนแยกออกไปหรือไม่ บอกไว้อย่างชัดเจน

ว่าตามตรง, ฉันชอบเจ้าเว็บนี้นะ และหวังจะได้ในอนาคตจะได้เห็นข้อมูลดีๆ เหล่านี้มากมายจากเจ้าเว็บนี้ได้ในอนาคต แต่วันนี้อย่างน้อยฉันก็หาร้านปลอดบุหรี่สักร้านที่จะได้ไปกินเจอแล้วล่ะ