Blog Archives

ไทยจัดงานเชิญตัวแทนญี่ปุ่นในเรื่องของการพัฒนาเขตอุตสาหกรรม

Posted on by

ณ พื้นที่ริมชายฝั่งทางตะวันออกไกลจากกรุงเทพนั้นเป็นที่ตั้งสำคัญของเขตอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดของประเทศนี้ เพราะที่นี้ประกอบด้วยแหล่งโรงงานญี่ปุ่นนับร้อยๆ โรงงานที่มาเปิดกิจการกัน ณ ที่แห่งนี้ร่วมกัน ซึ่งหลักๆ ก็คืออุตสาหกรรมรถและชิ้นยนต์ต่างๆ ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นฐานสำคัญในการผลิตหลักในประเทศเอเซียตะวันออกนี้

ในฐานะครบรอบความสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างทั้งสองประเทศครบรอบ 130 ปีเมื่อวันอังคารที่มา ทางรัฐบาลไทยเชื้อเชิญเหล่าบรรดานักลงทุนชาวญี่ปุ่นมาทราบถึงแผนร่วมลงทุนที่จะเปลื่ยนให้พื้นที่เขตอุตสาหกรรมเขตที่ว่านี้พัฒนาขึ้นใหม่เป็นเขตศูนย์กลางไฮเทคของภูมิภาคนี้ด้วยกัน

ในระหว่างต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมานี้ ทางรัฐบาลไทยได้เชื้อเชิญรัฐมนตรีกระทรวงเศษรฐกิจ อุตสาหกรรมและการส่งออกของญี่ปุ่น ท่านฮิโรชิเกะ เซโก(Hiroshige Seko) พร้อมด้วยคณะตัวแทนทั้งภาครัฐและเอกชน จำนวนกว่า 570 คน มาดูงานดังกล่าวที่ประเทศไทยจัดขึ้นเป็นเจ้าภาพนี้เป็นเวลาสามวันเพื่อโปรโมตโอกาศการลงทุนใหม่ๆ ณ ประเทศแห่งนี้

ซึ่งประเทศไทยได้รับหน้าที่เป็นตัวแทนของเหล่าชาติสมาชิกในอาเซียนในเรื่องการเป็นตัวแทนการเจรจาต่อรองธุรกิจต่างๆ ที่ตอนนี้ดูเหมือนประเทศในแถบนี้จะได้รับผลกระทบจากการเติมโตของลงทุนต่างๆ ของประเทศจีนที่เริ่มมีบทบาทมากยิ่งขึ้น ซึ่งเหล่าผู้แทนคณะชาวญี่ปุ่นก็ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากทางเจ้าภาพงานนี้

ด้วยกันนั้นเหล่าตัวแทนคณะชาวญี่ปุ่นเหล่านี้ ได้มีโอกาศพบนายกรัฐมนตรีของไทย พลเอกประยุทธ์ จันโอชา ณ ทำเนียบรัฐบาล โดยทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีของไทยได้เชื้อเชิญเหล่าผู้แทนได้ทราบถึงนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยใหม่อย่าง “ไทยแลนด์ 4.0” ที่จะตรอกย้ำให้ต่างชาติได้เห็นศักยภาพของการเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศนี้ได้อย่างแข็งแรง มั่นคง ชัดเจน และเชื้อมั่นได้มากขึ้น

โดยจุดมุ่งหมายของการเปลื่ยนแปลงนี้คือ การเปลื่ยนแปลงพื้นฐานการผลิตภาคเกษตรกรรมของไทย ให้เน้นเปลื่ยนเป็นการผลิตให้เป็นด้านอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูงให้มากยิ่งขึ้น

โดยการเปลื่ยนแปลงที่ว่านี้ทางรัฐบาลไทยเตรียมความพร้อมกับแผนดั่งกล่าวด้วยการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งใหม่ขึ้นมาเพื่อรองรับการลงทุนครั้งนี้ ซึ่งได้แก่ พื้นที่ทางสามจังหวัดที่มีเนื้อที่เขตติดชายฝั่งทะเลของประเทศ อันได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี และ จังหวัดระยอง

ซึ่งการลงทุนให้เขตพวกนี้เป็นเขตเทคโนโลยีใหม่ นี้จะต้องใช่เวลาในขั้นตอนตามแผนแรกเป็นเวลาทั้งหมดสิบปีด้วยกัน ซึ่งจะประกอบไปด้วยการพัฒนาเหล่าเทคโนโลนีที่เป็ร “อุตสาหกรรมหลักที่ตั้งเป้าไว้ก่อน” ได้แก่ ภาคชีวะเคมี ภาคทางการแพทย์ และภาคการท่องเที่ยวด้วยเช่นกัน ร่วมด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีชนิดใหม่อย่าง อุตสาหกรรมรถยนตร์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนอะไหล่ด้วยเช่นกัน โดยทางรัฐบาลไทยเสนอการลงภาษีภาคอุตสาหกรรมให้มากถึง 15 ปี ด้วยกันถ้าการลงทุนนั้นส่งผลดีกับประเทศ

สำหรับทางรัฐบาลไทยนั้นคิดว่าต้องใช้งบมากถึง 1.5 พันล้านบาทด้วยกัน (5 พันล้านเยน) สำหรับภาครัฐและเอกชนเอง ในการพัฒนาหรือต่อเติมพื้นที่เขตอุตสหกรรมและโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ให้พื้นที่ที่ทำสัญญา เพื่อให้ทันแผนดังกล่าวในช่วงระยะเวลาแผนห้าปีแรกของการลงทุน เช่น การต่อขยายสนามบินอู่ตะเภา ที่แต่เดิมนั้นเป็นสนามบินกึ่งพลเรือนและทหาร ให้กลายเป็นสนามบินขนาดใหญ่ลำดับสามของประเทศที่สามารถรองรับผู้โดยสารได้ถึงปีละ 60 ล้านคนก่อนปี 2032 ซึ่งตอนนี้ดูเหมือนว่าจะสามารถรองรับได้เพียงแค่ 3 ล้านคนต่อปีเท่านั้น

โดยทางรัฐบาลเองได้เน้นแผนการลงทุนกับทางญี่ปุ่นในเรื่องของ “การเป็นอุตสาหกรรมที่เชื่อมต่อกันถึงกัน” นั้นเป็นแนวคิดหลัก โดยการตั้งเป้าอัพเกรดภาคธุรกิจต่างๆ ที่มีในประเทศให้เกิดความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้นด้วยการเชื่อมเข้าเป็นเครือข่ายเดียวกัน ซึ่งท่ายนายยกยังได้กล่าวทึ้งท้ายอีกว่า ถ้าบริษัทไทยและญี่ปุ่นร่วมมือกันแบบนี้นั้นจะทำให้พวกเรานั้นเป็นหนึ่งเขตอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูงในเอเซียเลยทีเดียว

ซึ่งทางการไทยเองก็คาดหวังให้เป็นแบบนั้นเช่นกัน ดั่งที่จะเห็นจากตัวอย่างได้ในเหล่าสมาชิกคณะกรรมธิการหอการค้าไทย-ญี่ปุ่น เองนั้นซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นชาวญีุ่่นมากถึง 1748 คน นับจากเดือนเมษายนที่ผ่าน ซึ่งนี่เองทำให้ประเทศญี่ปุ่นเป็นชาติหลักที่สำคัญในการลงทุนต่างๆ ในประเทศแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

อีกทั้งความเข้มแข็งอิทธิพลของเหล่าชาติอาเซียนที่นับวันเริ่มมีบทบาทมากขึ้น ทำให้ญี่ปุ่นเล็งเห็นว่านี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่เราควรจะเพิ่มการลงทุนในประเทศพวกนี้ให้มากยิ่งขึ้น

เหมือนกับที่ทางจีนและไทยได้เริ่มมีการเจรจาตกลงก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงระหว่างกรุงเทพและนครศรีธรรมราชในเดือนตุลาคมนี้ ตามนโยบายที่ว่า “One Belt, One Road” ของทางจีน และเช่นเดียวกันที่ญี่ปุ่นและไทยนั้นก็ได้ตกลงเช่นกันในปี 2016 ในเรื่องของการสร้างทางรถไฟชินกันเซนเชื่อมต่อระหว่างกรุงเทพและเชียงใหม่เป็นระยะทางกว่า 700 กิโลเมตรที่จะเริ่มก่อสร้างในช่วงต้นปี 2018 นี้อีกด้วย

“ครั้งหนึ่งไทยเราเคยมีเศรษฐกิจที่เข้มแข็งจากรากฐานโรงงานผลิตรถยนตร์ของญี่ปุ่นทั้งหลาย แต่ตอนนี้โลกกำลังเปลื่ยนไปเนื่องจากเศรษฐกิจที่พัฒนาและแบรนด์ที่เข็มแข็งมากยิ่งขึ้นของประเทศจีน และ เกาหลีใต้” ผอ. กรมการส่งออกเอเซียตะวันออกของไทยได้กล่าวเอาไว้

“ยกตัวอย่างง่ายๆ เลย เช่น โทรศัพท์มือถือทุกวันที่เราใช้กันนี้ เราได้ยินแต่แบนด์ดังๆ อย่าง Oppo, Huawei ที่ล้วนมาจากจีนกัน และยังมี Sumsung จากเกาหลีใต้อีก แต่ไหนเรายังไม่เคยได้ยินยี่ห้อจากทางประเทศญี่ปุ่นบ้างเลย” เขาพูดเสริมอีก

ด้วยเหตุนี้ดูเหมือนว่าจะทำให้ทางญี่ปุ่นเองเสียทิศทางในการลงทุนกับไทยในรอบหลายๆ ปีที่ผ่านมาเชียว

โดยปีก่อนนั้นทางญี่ปุ่นเองก็เหมือนได้มีการลงทุนในประเทศเราเป็นจำนวนเงินถึง 79.6 หมื่นล้านบาทด้วยกัน ตามที่ องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น(Japan External Trade Organization.)ได้บอกเอาไว้ แต่ถ้าคิดจากงบเมื่อปี 2012 เองนั่นก็ดูเหมือนกับว่าหายไปเหลือเพียงแค่ 23 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น จากที่เคยลงทุนไว้ในประเทศนี้มากถึง 348.4 พันล้านบาท เมื่อปีดังกล่าวนั้น

โดยทางญี่ปุ่นเองก็คิดว่าอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการลงการลงทุนลงเป็นเพราะการที่ประเทศไทยนั้นกำลังติดอยู่กับการเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางขึ้น ที่มาจากการที่คนส่วนมากของประเทศนั้น มีรายได้เฉลี่ยต่อหัวที่มากยิ่งขึ้น ซึ่งสวนทางกับการลงทุนที่น้อยลงทางเศรษฐกิจของต่างชาติ ที่ยังคงต้องการหาแรงงานในราคาที่ต่ำอยู่ รวมทั้งที่ประชาชนในประเทศนี้เองกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งสวนทางกับการเติบโตของประชากรเช่นเดียวกัน

นอกจากนั้นยังเป็นเพราะคู่แข็งของประเทศไทยในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เอง อย่าง ประเทศเวียตนาม ที่ดูเหมือนตอนนี่จะมีค่าแรงที่ถูกกว่าประเทศไทยไปซะแล้ว ซึ่งถ้าคิดจากตัวเลขทางเศรษฐกิจในประเทศนั่น เวียตนามเองนั้นเติบโตถึง 6.21 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งต่างจากไทยอยู่ที่ 3.2 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2016 ตัวเลขดังกล่าวจากกระทรวงต่างประเทศ

ทางการรัฐบาลไทยเองก็หวังว่าแผนการลงทุนที่ว่านี้จะทำให้เกิดการกระตุ้นทางเศรษฐกิจให้กับประเทศมากยิ่งขึ้น
โดยในงานวันที่สองทั้งสองชาติได้ลงนามในข้อตกลงร่วมกันเป็นจำนวนถึงเจ็ดฉบับที่ว่าด้วยเรื่องของการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งจะเริ่มต้นในเดือนมิถุนายนปีหน้าตามสัญญา
ซึ่งในงานแถลงข่าว คุณเซโกะและรองนายกรัฐมนตรี ท่านสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ผู้ซึ่งเป็นคนสำคัญในการวางทิศทางเศรษฐกิจของประเทศแถลงว่าด้วยบริษัทที่จะเข้าไปลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษใหม่นี้ทั้งสองฝ่ายจะได้ผลประโยชน์อย่างแน่นอน

“สำหรับประเทศไทยนับเป็นเป็นประเทศที่สำคัญยิ่งเหล่าในอาเซียนด้วยกัน เนื่องจากการเชื่อมต่อทางธุรกิจของลุ่มแม่น้ำโขงในอนาคตที่จะเป็นปัจจัยสำคัญของเศษรฐกิจ” ทั้งนี้คุณเซโกะ ยังได้กล่าวต่ออีกว่า “ทั้งนี่เรายังมีบริษัทญี่ปุ่นอีกมากมายที่กำลังจะตามมาในอนาคต ซึ่งล้วนแต่เป็นตัวช่วยสำคัญในด้านเศรษฐกิจของประเทศให้มีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นไทย เหมือนเช่นที่เคยเกิดขึ้นในกับประเทศนี้เมื่อก่อน”
ด้วยคำตอบเหล่านี้ทำให้ ท่านสมคิด กล่าวตอบอีกว่า เราสองประเทศนั้นว่าเป็นโอกาสอันดีที่จะร่วมกันช่วยสร้างบุคลากรและธุรกิจในเขตอุตสาหกรรมนี้ ซึ่งมีขั้นตอนอย่างใดนั้น เราสองประเทศคงต้องหารือเพิ่มเติมกันในอีกอนาคตอันใกล้แน่นอน

อีกทั้งท่านยังกล่าวต่ออีกว่า “ทางไทยเห็นว่าไม่ใช่่แค่เรื่องเฉพาะทางการค้า การลงทุน หรือ การท่องเที่ยว เท่านั้น สำหรับการฑูตญี่ปุ่น เรามองเห็นญี่ปุ่นนี้มีความสัมพันธ์ที่อยู่ในระดับรากลึก และ ยังถือว่าเป็นประเทศพันธมิตรอันเหนี่ยวแน่นสำหรับประเทศไทยเราเองมาอย่างเนินนาน ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศเกิดมาแล้วถึง 120 ปีด้วยกันและยังสามารถย้อนกลับไปไกลมากถึง 600 ปีย้อนหลังได้อีกด้วย”
“และช่วงเวลานี่เองเป็นเวลาการตัดสินใจครั้งสำคัญสำหรับประเทศไทยเอง ซึ่งไม่มีเหตุผลใดๆ เลยที่ประเทศญีุ่่นเองก็ห้ามพลาดโอกาศอันดีที่จะเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งดีๆ แบบนี้เช่นเดียวกัน ” คณสมคิดกล่าวทึ้งท้ายเอาไว้

ต่อจากนั้น คุณ โตชิย่า มัตซูโอะ(Toshiya Matsuo) ประทานบริษัท Transcosmos (Thailand) จำกัด ได้กล่าวเสริมอีกว่า “ประเทศไทยนับว่าเป็นประเทศหลักที่สำคัญในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้นี้แบบไม่ต้องสงสัยใดๆ ทั้งสิ้น และด้วยการส่งเสริมจากเราในภูมิภาคนี้ย่อมจะช่วยให้ธุรกิจของเราเกิดการโตโตได้ดีในภูมิภาคนี้อย่างแน่นอน”
ซึ่งทางบริษัทของเราเองนั้นเป็นบริษัทที่เกี่ยวกับการบริการอินเตอร์เนตที่เริ่มมาลงทุนในประเทศนี้ตั้งแต่ปี 2008. โดยปีนี้เองทางบริษัทเราก็จะเปิดตัวบริการ e-commerce ใหม่ๆ ในประเทศนี้และตามด้วยประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคนี้ก่อนใคร เพราะเราเล็งเห็นว่าประเทศไทยนี้มีพื้นฐานด้านเศรษฐกิจที่เข้มแข็งมาก่อนอยู่แล้ว และยังเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงในการลงทุนน้อยที่สุดในแถบนี้ด้วยเช่นกัน”
“และเรายังหวังด้วยว่าการบริการด้านออนไลน์และการลงทุนต่างๆ ของเราในอนาคตนั้นจะได้ตอบโจทย์กับที่ทางรัฐบาลไทยได้วางนโยบาย อย่างเช่น ประเทศไทย 4.0 ด้วยเช่นกัน”
และยังมีอีกท่านนึงที่จะกล่าวเกี่ยวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจ คือ คุณเอนเดะ ทากะ(Enrei Taka) ผู้ซึ่งเป็นทันตแพทย์จากเมืองฟุกุโอกะที่เริ่มทำธุรกิจบรษัท Yu-Ki Co. อันเป็นบริษัทอาหารปลอดแบททีเรีย ที่เล็งเห็นว่าประเทศไทยนี้เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ดีสำหรับธุรกิจของเธอ “ดูเหมือนว่าทางรัฐบาลไทยจะทำงานอย่างหนักที่จะโปรโมตแผนพัฒนาเศรษฐกิจอันนี้เป็นอย่างมาก ซึ่งฉันคิดว่าตอนนี้แหละคือโอกาสที่ดี”

ปัญหาการขาดแรงงานของโรงงานญี่ปุ่นที่ดูเหมือนจะยิ่งเลวร้ายลง

Posted on by

หลากหลายบริษัทในภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นนั้นดูเหมือนเกิดปัญหาการขาดแคลนแรงงานอย่างหนักขึ้นในประเทศในรอบหลายศตวรรษ ซึ่งทั้งนี้หลายๆ บริษัทนั้นต่างก็หาวิธีแปลกๆ มาใช้ในการรับคนเพิ่มเข้าทำงานไปในส่วนที่ขาดแคลนอย่างเร่งรีบ

ทำงานในญี่ปุ่น
เมื่อเร็ว ๆ นี้ญี่ปุ่นมีงานจำนวนมากสำหรับชาวต่างชาติรวมถึงคนไทย
https://www.careerlink.asia/

ทำงานบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทย
https://www.careerlink.co.th/category/ภาษาญี่ปุ่น/154

ด้วยวิธีแปลกๆ อย่างเช่น การรับสมัครเหล่าแม่บ้านหรือคนที่เกษียนไปแล้วให้กลับมาทำงานอีกครั้งหนึ่ง ด้วยการชักจูงด้านรายได้ที่ให้มากกว่าแต่ก่อน ซึ่งบางที่นั้นก็เหล่านายจ้างก็ยังยอมข้อเสนอต่างๆ ให้กับคนเหล่านี้ เพื่อที่จะต้องยอมให้พวกเขากับเข้าทำงานอีกครั้งนึง อย่างเช่น ยอมลดเวลาเข้างานลง หรือ ยอมลดการขยายแผนงานในอนาคตของบริษัทอื่นๆ เช่นเดียวกัน เป็นต้น

ถึงแม้ประเทศญี่ปุ่นเองจะมีเปอร์เซ็นต์ของผู้ว่างงานของผู้มีอายุต่ำกว่า 23 ปี อยู่ที่ 2.8 เปอร์เซ็นต์ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา อันเนื่องจากเศรษฐกิจที่เข้มแข็งของประเทศมาแต่ก่อนและจากเหล่าคนวัยทำงานที่ซึ่งตอนนี้ดูเหมือนว่าพวกเขาเหล่านี้จะเริ่มแก่ตัวมากยิ่งขึ้นซึ่งมีเป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้ทำให้ประชากรส่วนมากของประเทศนี้กลายมาเป็นสังคมผู้สูงอายุในที่สุด

และเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ธนาคาร “Tankan” ซึ่งเป็นธนาคารหนึ่งของประเทศญี่ปุ่นได้ทำการสำรวจในเรื่องของคนงานในรอบไตรมาสของปี ซึงผลลับแสดงออกมาว่า อัตราส่วนของการขาดคนงานนั้นมีมากกว่าปลดคนงานซะอีก โดยสถานการณ์เช่นนี้เคยเกิดขึ้นมาก่อนแล้วเมื่อปี 1992 แต่ครั้งนี้มากลับดูแย่กว่าซะอีก

และด้วยวิกฤตการขาดคนงานเช่นนี้ย่อมจะส่งผลให้เกิดการชะลอตัวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศร่วมด่วยภาคส่วนอื่นๆ ก็จะได้รับผลกระทด้วยเช่นกัน โดยท้ายสุดแล้วนี่จะทำให้ประเทศญี่ปุ่นนั้นสูญเสียช่วงโอกาสต่างๆ ทางเศรษฐกิจต่อไปในอีกอนาคตได้

อย่างที่เคยเกิดขึ้นอย่างเช่น ในห้าง Sun Mall ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของกรุงโตเกียว ด้วยเหตุวิกฤตการขาดคนงานในประเทศนี้ทำให้ ผู้เช่าหลายรายนั้นลดขนาดของร้านลง หรือ มีแม้แต่ปิดตัวลงไปเนื่องจากหาพนักงานมาทดแทนไม่ได้ และยังมีอีกถึงกลับว่า ร้านสปาแห่งใหม่ที่กำลังจะเปิดในอีกไม่กี่เดือนต่อจากนี้ ได้เลื่อนกำหนดการเปิดออกไปอีกไกล เนื่องจากปัญหาการขาดคนเช่นเดียวกัน ข้อมูลโดยคุณ เซต ซัลคิน (Seth Sulkin) ประทานบริษัทและซีอีโอของห้างดังกล่าวได้กล่าวถึงเหตุการณ์ผลกระทบของวิกฤตนี้กับทางเรา

ทั้งนี้เขายังได้กล่าวผลกระทบจากนี้อีกว่า “และดูเหมือนว่าจำนวนคนที่กำลังหางานพาร์ทไทม์นั้นจะลดลงอย่างรวดเร็วลงด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะในเขตนอกเขตกลางเมืองโตเกียวเป็นจำนวนมาก” เขายังกล่าวต่ออีกว่า “ถึงแม้เราเปลื่ยนตำแหน่งให้เป็นพนักงานประจำแล้วก็ตาม แต่ดูเหมือนว่าพวกเขาก็ไม่สนใจแต่อย่างใด”

“แต่ก่อนในโตเกียวนี่เราหาคนทำงานได้เสมอ แต่ตอนนี้มันไม่ง่ายเหมือนอย่างนั้นแล้ว เช่นที่เกิดขึ้นในห้างของเราอย่างห้างชิบะ ซึ่งผมว่ามองว่าปัญหาของมัน คือ สถานที่ที่ตั้งนั่นล่ะ คือ มันมีคนอยู่น้อยเกินไปตอนนี้”

ตั้งแต่แม่บ้านยันคนเกษียณ

ตอนนี้ดูเหมือนว่าเศรษฐกิจของประเทศนี้ตอนนี้กำลังต้องการรับทุกคนที่อยากจะทำงาน ณ ตอนนี้อย่างเร่งด่วนที่สุด ถึงขนาดที่ว่าบริษัทหลายๆ บริษัทนั้นต้องหาผู้สมัครประเภทใหม่ๆ กันเลยทีเดียวเชียว

อย่างเช่นร้านแมคโดนัลและแฟมิลี่มาร์ทของญี่ปุ่นนั้น ต่างต้องการหาแรงงานใหม่ๆ อย่างเร่งด่วน ด้วยการตั้งเป้าพนักงานใหม่ที่นอกเหนือจากคนหนุ่มสาว โดยการตั้งเป้าให้เปิดรับสมัครแม่บ้านมาทำงานพาร์ทไทม์กันให้มากยิ่งขึ้น

จากการสำรวจแบบสอบถามวิจัยสำหรับแม่บ้านทั้ง 4000 คนของประเทศนี้มี ซึ่งมีมากกว่าครึ่งนั้นอยากที่จะทำงานแต่ก็ทำไม่ได้เพราะไม่มีงานรองรับหรือเหมาะสมสำหรับพวกเธอได้ และพวกเธอก็ยังกังวลเกี่ยวกับเวลาในการทำงานที่อาจส่งผลกระทบกับหน้าที่ความรับผิดชอบต่างๆ ที่บ้านได้

ด้วยเหตุนี้ทำให้หลายๆ บริษัทได้ปรับปรุงเงื่อนไขการทำงานของพนักงานของตนให้ดึงดูดน่าสนใจให้มากยิ่งขึ้น อย่างเช่นที่ บริษัท เดาเตอร์ นิชเชียร์ส โฮลดิ่ง จำกัด (Douter Nichires Holdings Co ltd), ได้ให้มีการจ่ายเงินชดเชยสำหรับพนักงานชั่วคราวด้วย ซึ่งไม่ใช่เรื่องปรกติเลยในประเทศนี้ ที่จะมีบริษัทยอมทำเช่นนี้ในประเทศที่มีความแตกต่างกันมากเหลือเกินระหว่างพนักงานประจำและถาวร

ร้านอาหารบางร้าน อย่างเช่น บริษัท รอยัล โฮลดิ่ง จำกัด (Royal Holdings Co ltd) หรือ แมคโดนัลในประเทศนั้น เริ่มที่จะยกเลิกการบริการตลอดทั้งวันแล้ว แต่บางบริษัทก็ยังยึดถือมั่นและยังคงภูมิใจที่ยังเปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อให้ลูกค้าทุกคนและทุกเวลานั้นยังใช้บริการอยู่ แม้ในวิกฤตเช่นนี้ก็ตาม

และผลสำรวจจากรอยเตอร์เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมายังบอกเราอีกด้วยเช่นกันว่า บริษัทมากกว่า 80 % นั้นเห็นว่าวิกฤตการขาดคนงานตอนนี้จะส่งผลให้การบริการต่างๆ ทีืกำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตนั้นจำเป็นต้องลดลงไปเพื่อรับมือวิกฤตดังกล่าว ซึ่งก็มีความพยายามบ้างเพื่อที่จะแก้ปัญหานี้โดยเปิดการคิดการแก้ปัญหาร่วมกันแต่ผลลัพธ์ดูเหมือนว่ามันจะไม่ช่วยอะไรได้มากเท่าไรนัก

เดือนมีนาคมที่ผ่านมานั้น บริษัทจัดหางานอย่าง Fullcast Holdig Co Ltd ได้ตั้งเป้าหมายว่าต้องมีผู้หางานที่อายุมากกว่า 60 ปีให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งตอนนี้ก็มีแล้วอยู่ถึง 2000 คนด้วยกันที่ได้ลงประวัติกับทางเราแล้ว ซึ่งบริษัทหลายๆ ที่นั้นก็ดูว่าจะหางานที่เหมาะสมกับพวกเขาไม่ได้เลย คุณยาซึฮิโร ซูมิ ประทานบริษัทดั่งกล่าวได้บอกกับเราไว้ เขายังกล่าวต่ออีกว่า “ถ้ามีตำแหน่งงานสักที่ ที่ใกล้บ้านและทำงานน้อยๆ สำหรับพวกเขาให้เลือกแล้วล่ะก็ เรามีผู้สมัครที่เหมาะสมเพียบเลยล่ะ” เขากล่าว

หลายบริษัทเลยเมื่อเกิดวิกฤตเช่นนี้ก็ลังเลที่จะขึ้นค่าแรงแก่พนักงานของตน เพราะพวกเขาก็ไม่อยากไปเก็บกับราคาสินค้าที่ต้องต้องเพิ่มขึ้นตามด้วยเช่นกัน ซึ่งพวกลูกค้าต่างก็คุ้นเคยกับราคาคงที่แบบนี้มานานเกือบสองทศวรรษแล้ว

“ดูเหมือนว่าการแก้ปัญหาการขาดคนอย่างมาก ณ ตอนนี้ ด้วยการเพิ่มค่าสินค้า ค่าแรงต่างๆ นี้คงไม่ใช่วิธีแก้ไขอย่างถูกวิธีหรอกครับ” กล่าวโดย คุณฮิเดะโอะ คุมาโนะ (Hideo Kumano) หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ประจำสถาบันวิจัยไดอิจิ (Dai-ichi Life Research Institute)

คัพท์ญี่ปุ่นน่ารู้เมื่อต้องสั่งของออนไลน์

Posted on by

นับเป็นเวลากว่าเดือนนึงให้แล้วหลังจากโพสครั้งล่าสุดของฉัน ซึ่งเวลานั้นก็ได้ผ่านไปเรื่อยๆ

จนคิดไปพลางๆในใจว่า นี่เราได้ปล่อยเวลาเปล่าๆ ไปเล่นๆ เฉยๆ หรือเปล่านี่

ค่ำนี้ฉันได้ลองชิมข้าวแกงกะหรี่ชนิดหนึ่ง เรียกกันในภาษาญุี่ปุ่นว่า カレーライス, หรือ  “kare raisu”  มันเป็นข้าวแกงกระหรี่ที่ดูคลับคล้ายคลับคลากับสตูล โดยจะออกมีสีน้ำตาลผสมด้วยสีส้มและสีเหลืองจากแครอทและมันฝรั่ง ร่วมด้วยเนื้อสัตว์ควบคู่กัน โดยทั้งนี้เราสามารถเลือกความเผ็ดได้ตั้งแต่ “รสกลมกล่อม” ไปจนถึง “เผ็ดร้อน”  ถึงแม้คุณอยากจะลองชิมรสแกงแบบแซบๆ เลยอยากจะเลือกลองระดับหลังดูแต่ก็อย่าห่วงเลยคะ มันไม่ได้ ”เผ็ดร้อน” หรือแซบเหมือนดั่งอาหารไทยอย่างแน่นอน

ฉันพบว่าข้าวแกงกะหรี่เป็นอาหารชนิดหนึ่งที่แสนน่าหลงไหล ถึงแม้ฉันจะได้เคยชิมมาบ้างตอนอยู่ที่บ้านของดิฉันก่อนจะมาจับพลูอาศัยที่ญี่ปุ่นนี้ ด้วยเหตุนี้ทำให้การทำกับข้าวหลายๆ ครั้งของฉันนั้นจึงติดความเป็น “ญี่ปุ่น” เข้าไปมากขึ้น โดยฉันได้ลองทำสูตรของตัวเองโดยอาศัยรสชาติแกงกะหรี่อร่อยๆ ทั่วประเทศที่เคยได้ไปชิมมาเป็นตัวอย่าง

ค่ำคืนครึ่มๆ แสนแฉะในเดือนมีนาคมวันนี้ นับว่าเป็นวันดีที่ทุกคนจะได้ลิ้มรสชาติแกงกะหรี่ฝีมือฉันเป็นอาหารเย็น ราวห้าโมงเย็นวันนี้ ฉันก็ได้เริ่มเตรียมหั่นกระเทียมแล้วนำไปผัดให้ร้อนไว้ก่อน ระหว่างนั้น ฉันก็ได้สับขิงและกระเทียมและเครื่องปรุงอื่นๆ เตรียมรอไว้เช่นกัน เมื่อกระเทียมเริ่มละลายที่กระทะแล้ว ฉันจึงเติมขิง กระเทียม ตามด้วยน้ำและน้ำสต๊อก ผสมเข้ากับเนื้อสัตว์และเครื่องปรุงเล็กน้อยเพิ่มเข้าไป เสร็จออกมาแล้วมันก็ดูน่ากินทีเดียวล่ะ ชั่วโมงนึงหลังจากนั้น ฉันก็เริ่มเตรียมอบไก่แช่แข็งที่ได้เตรียมเอาไว้เริ่มมาอุ่นให้ร้อนซะ ระหว่างนั้นฉันก็คุยกับสามีจนเพลิน จนทำให้ลืมไปว่าฉันนั้นได้ตั้งเตาตบไว้ที่อุณหภูมิสูงสุดไว้  ในระหว่างรอแบบไม่รู้ตัวนี้ฉันก็หาอ่านบล็อกเกี่ยวกับอาหารอ่านไปเรื่อยๆ ฆ่าเวลาไปพลางๆ แบบไม่รู้ตัว

ประมาณ 20 นาทีผ่านไป เสียงเตาก็ดังลั่นขึ้น ฉันจึงรีบวิ่งมาที่เตาทันทีด้วยความเร่งรีบและพลาดของฉันเองทำให้ฉันนึกได้ว่าไปว่า ได้ตั้งความร้อนไว้ที่ระดับสูงสุดเอาไว้ เมื่อรีบเปิดฝาเตาอบออกมาแบบรีบๆ จนเกือบจะเผามือตนเอง จนเมื่อเห็นผลงานของตนเองนั้นล่ะก็อาจเรียกได้ว่า มันแย่ยิ่งกว่า เพราะไก่ที่อบนั้นดำติดถาด เนื่องจากไฟที่แรงไป เมื่อเห็นผลงานล้ว ฉันจึงเริ่มร้องไห้ พร้อมคร่ำควรญว่า “นี่มันดูโง่มากเลยใช่ไหม” โง่แค่นี้ยังไม่พอ ยังได้แผลเพิ่มเข้าไปที่มือเพิ่มเข้าไปอีก (แบบไม่ได้ตั้งใจ) เมื่อผลการทำอาหารออกมาเป็นอย่างนี้ สามีฉันปลอบใจฉันเรื่องที่เกิดขึ้นอยู่พักนึง แล้วสุดท้ายเราก็ลงเอยด้วยการไปกินข้าวนอกบ้านแทน   หลังจากนั้นเมื่อกลับบ้านมาฉันก็เริ่มลองทำใหม่อีกครั้ง โดยให้สามีของฉันจัดการเรื่องทำความสะอาดหม้อเตาของวีรกรรมครั้งก่อนเอาไว้ ด้วยการที่เข้าครัวครั้งใหม่นี้ทำเพลินจนตัวเองเมื่อลื่นล้มในครัว จะทำไงได้ก็คนมันรีบนี่น่า?

ในที่สุดผลที่ออกมานั้นก็ดูดีทีเดียว ซึ่งมันจะดูน่ากินมากกว่านี้หากฉันใช้เวลาปรุงเพิ่มอีกสักนิดนึง แต่อย่างว่าล่ะ มันก็ยังอร่อยอยู่นะ

คนที่นี้บางครั้งมักประหลาดใจในตัวฉันว่าฉันทำอะไรได้มั่งในประเทศนี้ นับตั้งแต่ฉันเริ่มย้ายมาอยู่ที่ประเทศนี้แบบไม่รู้อะไรเลยทั้งสิ้น แต่เพราะด้วยแรงกำลังใจและการแก้ไขปัญหาที่ดี ฉันจึงเริ่มที่จะค้นหาความรู้ใหม่ๆ  ในเรื่องสูตรอาหารหรือจำพวกวัตถุดิบ ขยันแบบว่าซะยิ่งกว่าตอนอยู่ที่บ้านฉันเองซะอีก ด้วยความที่ฉันนั้นชอบอ่านเรื่องบล็อกอาหารอยู่เป็นนิตย์ ชอบอ่านจนเป็นเหมือนดั่งงานอดิเรกใหม่ของฉันเลยนับตั้งแต่มาอยู่ที่นี้ คอยค้นหารูปหรือสูตรอาหารอร่อยๆ ใหม่ๆ อยู่เสมอแล้วลองทำตามดู จนบางครั้งสามีก็ชอบแซวฉันว่า เราสองคนนั้นเคยไปกินร้านนอกบ้านครั้งสุดท้ายเมื่อไรกัน

ไม่กี่วันก่อนฉันได้เอาอัลมอนด์ไว้ประมาณนึงจากซีแอตเติลบ้านของฉันเมื่อครั้งกลับบ้านในช่วงคริสมาสต์ เมื่อมานี่ฉันหาวิธีซื้ออัลมอลต์ถูกๆ ในประเทศนี้บ้าง จึงพบว่า Tengu Natural Food นั้นเป็นคำตอบ แต่ดูเหมือนว่าถ้าคุณซื้อในปริมาณน้อยๆ ล่ะก็  มันก็จะแพงอยู่ดี อีกทั้งในเว็บ Flying Pig ก็มีเหมือนกัน แต่ดูเหมือนที่นี้จะเป็นของนอกมาจากเกาหลีใต้ ซึ่งทำให้คุณนั้นจำเป็นซื้อสินค้าอย่างน้อยสามชิ้นขึ้นไปในหมวด “Personal import(ของนำเข้าส่วนตัว)” ถึงจะซื้อได้ แต่ก็ไม่เป็นไรเพราะหากว่าคุณนั้นอยากจะสั่งถั่วอัลมอลต์มาทั้งสามถุงขั้นต่ำพอดี (ถุงละประมาณ 9 ถ้วยตวง) หรืออย่างอื่นเพิ่มเข้าไปอีกก็ไม่ว่า แต่ทั้งนี้นั้นฉันพบว่า ในเว็บ Amazon Japan นั้นกลับดูน่าสนกว่าสำหรับฉัน เมื่อฉันเลือกตอนขั้นตอนการส่งในเว็บไซด์ ซึ่งประกอบไปด้วยเครื่องเทศ สมุนไพร ผักผลไม้ มากมายให้เลือกส่ง ด้วยเว็บนี้ทำให้ฉันได้รู้อีกว่า ถั่วอัลมอนต์นั่นมีราคาจัดส่งที่ถูกที่สุดที่สุดถ้าคุณซื้อเป็นกิโลกรัม ซึ่งราคา

ค่าจัดส่งก็ไม่ได้แพงอะไรมากมายนัก อีกทั้งยังมีวิธีการเลือกจ่ายแบบเก็บเงินที่ปลายทางอีก ด้วยเหตุนี้ฉันจึงอุดหนุนไป แล้วรอแทบไม่ไหวที่จะได้ทำกราโนล่าซะที

แม้ในหลายๆ เว็บจะมีตัวเลือกสองภาษาให้เลือกใช้ แต่บางครั้งนั้นอาจไม่มีตัวเลือกดังกล่าว การสั่งซื้อ โต้ตอบรายการเป็นภาษาญี่ปุ่นจึงเป็นเรื่องที่ควรรู้ไว้ ไม่เฉพาะแค่เว็บไซด์สั่งซื้ออาหารเท่านั้น แต่เว็บอื่นๆ ด้วยเช่นกัน แน่นอนว่าการมีโปรแกรมแปลภาษาหรือดิสชั่นนารี อังกฤษ-ญุี่ปุ่น ติดตัวไว้ย่อมช่วยคุณได้เสมอๆ แต่อย่างไรก็ตาม นี่คือคำศัพท์เด็ดๆ ง่ายๆ  ที่คุณควรรู้ไว้ เมื่อต้องทำการสั่งของออนไลน์

 

レジ (reji – register ; การลงทะเบียน) – มักจะเห็นคำนี้ ตรงตระกล้ารถเข็น เมื่อคุณต้องสั่งของ

進む (susumu – ขั้นต่อไป, ไป) – โดยปรกติมักจะใช้คำว่า “reji”. レジへ進む หรือ レジに進む.

送料 (souryo – การขนส่ง) – ค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการขนส่ง

合計 (goukei – ทั้งหมด) – ราคารวมทั้งหมด, โดยปรกติมักหมายถึงในส่วนของการจัดส่งด้วยเช่นกัน

配送日 (haisou nichi – วันรับสินค้า) – คุณสามารถเลือกวันที่จะรับสินค้าได้ (หรือปล่อยไว้เป็นค่าเริ่มต้นไว้อย่างนั้นก็ได้ถ้าคุณไม่อยากเจาะจง)

配送時間帯 (haisou jikantai – ช่วงเวลาที่จะรับสินค้า) – คุณสามารถเลือกช่วงเวลาที่จะรับของได้ (หรือปล่อยไว้เป็นค่าเริ่มต้นไว้อย่างนั้นก็ได้ถ้าคุณไม่อยากเจาะจง)

クレジットカード (kurejito kaado – บัตรเครดิดการ์ด) – กรอกหมายเลขบัตรเครดิดการ์ดของคุณ เมื่อถึงช่วงขั้นตอนของการจ่ายเงินค่าสินค้า

代金引換 or 代金引替 (daikin hikikae – การคิดเงินแบบเก็บเงินปลายทาง) – เลือกคำนี้เมื่อคุณต้องการให้ชำระสินค้าแบบเก็บเงินปลายทาง

振り込み (furikomi – การโอนเงิน) –  เลือกคำนี้เมื่อคุณต้องการการชำระโดยการโอนเงินระหว่างธนาคาร

コンビニ (konbini – จ่ายเงินผ่านร้านสะดวกซืื้อใกล้บ้าน) – เลือกคำนี้เมื่อคุณต้องการชำระค่าสินค้าที่ร้านสะดวกซื้อใกล้บ้านคุณ

แน่นอนว่าในท้ายสุดนี้เมื่อต้องสั่งของออนไลน์ก็อย่าลืมที่จะ กรอกชื่อ ที่อยู่ หรือหมายเลขโทรศัพท์ ด้วยทุกครั้งนะคะ ซึ่งขั้นตอนนี้บางเว็บอาจต้องให้คุณกดปุ่มสักสองสามคลิกเพื่อ “ยืนยัน”หรือ“ดำเนินการต่อ” เพื่อให้จบขั้นตอน หรือ บางเว็บนั้นคุณจำเป็นต้องสมัครสมาชิกด้วยเช่นกัน หวังว่าคำศัพท์เหล่านี้จะช่วยให้การสั่งซื้อของออนไลน์ของคุณในประเทศนี้ได้ไม่มากก็น้อยนะคะ

อาหาร, การกีฬา และ ความมั่นคง : ผู้ว่ารัฐวิสคอนซินพูดคุยเกี่ยวกับความการร่วมมือข้อตกลงต่างๆ สำหรับประเทศญี่ปุ่น

Posted on by

จากในคลิป ผู้ว่าการรัฐวิสคอนซิน นายสก็อต วอคเกอร์ ซึ่งเป็นตัวแทนของคณะกรรมการข้อตกลงร่วมในแถบมิตเวสต์ของสหรัฐอเมริกา ได้มาเยือนยังประเทศญี่ปุ่นเมื่อไม่นานมานี้ โดยในวันที่ 12 กันยายนที่ผ่านมานั้น คุณวอคเกอร์ได้มาเยี่ยมเยือนที่ JAPAN Forward เพือมาตอบคำถามเราในหลายๆ เรื่องข้อสงสัยนานา รวมทั้งยังได้พูดคุยกันในเรื่องของ ธุระกิจ การลงทุนต่างๆ ไปจนถึง วัฒนธรรม การศึกษา และ ความมั่นคง

โดยในครั้งนี้ คุณวอคเกอร์ได้พูดคุยถึงความสำเร็จของข้อตกลงระหว่างสองประเทศนี้ ซึ่งได้เริ่มยกตัวอย่างของความประสบความสำเร็จนี้ด้วย ดังเช่น ซอสคิโคแมน ที่เป็นยี่ห้อของความสำเร็จของชาวญี่ปุ่นแท้ ที่ได้ไปเปิดโรงงานผลิตถึงที่ประเทศอเมริกา และยังยกตัวอย่างของข้อตกลงลงทุนใหม่ระหว่างบริษัท Sharp และบริษัท Foxconn ของไต๋หวันที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตด้วยเช่นกัน

อีกทั้งท่านผู้ว่ายังให้ความสำคัญถึงเรื่องของความมั่นคงเช่นเดียวกัน อย่างเช่น เรื่องของกรณีประเทศเกาหลีเหนือ ที่กำลังทดลองผลิตอาวุธนำวิถีระยะไกลรวมไปถึงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์อีกด้วยเช่นกัน

และนี่คือข้อความของการพูดคุยครั้งนี้ ที่เราได้ตัดมาเมื่อครั้งได้สัมภาษณ์กับท่านผู้ว่าวอคเกอร์

รู้ไหมครับว่าจากเดิมนั้นรัฐวิสคอนซินนี้เคยติดอยู่ในสิบลำดับสุดท้ายของรัฐที่ไม่น่าไปลงทุนที่สุดในสหรัฐ ซึ่งจัดลำดับโดยนิตรสาร Chief Executive Magazine ไว้ในปี 2010 แต่ในปี 2017 นี้กลับพุ่งขึ้นมาเป็นสิบลำดับต้นๆ แทน ซึ่งวิสคอนซินในตอนนี้ต่างกำลังยินดีอย่างยิ่งสำหรับทุกท่าน ที่จะต้องการจะลงทุนในทุกรูปต่างๆ จากทั่วทุกมุมโลกให้มาลงทุนกันครับ

ตอนนี้ได้มีการตกลงลงทุนใหม่มูลค่าถึงหนึ่งหมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ของบริษัท Sharp ที่กำลังจะเปิดโรงงานผลิตแผงควบคุมวงจนสุดทันสมัย ที่จะช่วยให้เกิดการพัฒนามูลค่าทางเศรษฐกิจสำคัญได้ในรัฐแห่งนี้ ดั่งเหมือนเช่นที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วเมื่อ 44 ปีก่อน เมื่อครั้ง บริษัท คิโคแมน ซึ่งเป็นบริษัทญี่ปุ่นแห่งแรกที่ได้มาเริ่มต้นธุรกิจที่รัฐแห่งนี้มาก่อนหน้าที่เมืองวอลเวิธ เพราะที่แห่งนี้นั้นเต็มไปด้วยส่วนประกอบอย่างถั่วเหลืองชั้นดี คุณภาพน้ำที่ยอดเยี่ยม รวมทั้งผู้คนที่ต่างทุ่มเทกับงานเป็นอย่างดี ซึ่งในปัจจุบันนี้โรงงานนี้ก็เติบโตจนเป็นอีกหนี่งความภูมิใจด้านอาหารและเครื่องดื่มของชาววิสคอนซิน

โดยตั้งแต่ที่ผมได้ว่าเป็นผู้ว่ารัฐนี้ เราก็ได้ลดภาษีลง ปฏิรูปต่างๆ นานา ลดการฟ้องร้องที่ไม่เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม และบังคับใช้กฏหมายแรงงานต่างๆ ลงทุนด้านแรงงาน เพื่อให้งบของเรานั้นสมดุลและยังมีคงเหลือมากยิ่งขึ้น ซึ่งถ้าคำนวนได้ภายในสิ้นปีนึ้ตลอดในช่วงแปดปีที่ผ่านมา รัฐเราจะมีงบคงเหลือสะสมถึง แปดพันล้านเหรียญสหรัฐ แม้โดยส่วนมากนี้ไม่ได้การเก็บภาษีจากโรงงานและการเกษตรใดๆ ก็ตามในรัฐนี้ ทำให้รัฐนี้เป็นรัฐที่เป็นอีกหนึ่งในรัฐที่เหมาะแก่การลงทุนต่างๆ

แน่นอนครับ เนื่องจากตอนนี้เรามีแรงงานอาศัยในรัฐแห่งนี้มากกว่าครั้งใดๆ โดยในตอนนี้เราก็กำลังปรับปรุงระบบการศึกษาและการระบบการฝึกสอนต่างๆ ให้กับผู้ที่มีความสามารถที่เหมาะสมในอนาคตกันอยู่ และด้วยงบของรัฐ ณ ตอนนี้ ทำให้เราสามารถพัฒนาระบบการสอนสให้กับโรงเรียนอาชีวะต่างๆ มากยิ่งขึ้น รวมทั้งใมหาลัยรัฐด้วยเช่นกัน

ตั้งแต่เริ่มรับตำแหน่งนี้ เราได้เพิ่มงบการฝึกงานต่างๆ เป็นสองเท่า ซึ่งเรานั้นต่างเข้าใจการสอนแบบญี่ปุ่นเป็นอย่างดี ที่เน้นว่าต้องเรียนรู้ด้วยของจริงจากอาจารย์

มหาวิทยาลัยวิสคอนซินนั้นถูกจัดระดับให้เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลกด้วยเช่นกัน โดยที่นั่นได้มีนักศึกษาต่างชาติมากมาย แม้แต่นักศึกษาชาวญี่ปุ่นเองก็ตามที่เคยเข้าเรียนที่นี้ตั้งแต่ปี 1888. ซึ่งในมหาลัยเราเองนั้นต่างก็มีผู้สนใจอยากจะไปศึกษานอกประเทศเช่นเดียวกัน โดยประเทศญี่ปุ่นนั้นเป็นหนึ่งในประเทศลำดับแรกๆ ที่พวกเขานั้นสนใจกันเลยทีเดียวครับ

เดิมทีนั้นรัฐวิสคอนซินนี้นั้นเติมโตมาจากการเป็นรัฐทำการเกษตรรรมมาก่อน
ด้วยเหตุนี้เองทำให้เรานั้นมีความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศญี่ปุ่นด้านการเกษตรกรรมมานับแต่นั้น แต่วันนี้เศษรฐกิจของรัฐเรานั้นกำลังจะเปลื่ยนไปตลอดกาล ด้วยการส่งเสริมการลงทุนด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ อันหลากหลายมากยิ่งขึ้น ตั้งแต่รายเล็กจนถึงรายย่อย ซึ่งด้วยการสนับสนุนเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่หลากหลายนี่เอง ท่านคิดว่าจะส่งผลกระทบกับความสัมพันธ์แต่เดิมที่แต่เดิมว่ากับทางญี่ปุ่นที่เน้นการส่งเสริมด้านเกษตรกรรมกับทางนี้ยังไงบ้างครับ

ณ ตอนนี้รัฐวิสคอนซินของเรานั้นมีอุตสาหกรรมหลักๆ จำนวนหกประเภทที่น่าสนใจสำหรับชาวญี่ปุ่นมาให้น่าพิจารณาด้วยกันนะครับ ซึ่งประกอบไปด้วย เชื้อเพลิง, พลังงานและการควบคุมต่างๆ, อาหารและเครื่องดื่ม(รวมการเกษตรกรรมด้วย), เทคโนโลยีเกี่ยวกับน้ำ, วิทยาศาสตร์ชีวภาพ และ อุตสาหกรรมด้านการบิน ทุกแต่ละด้านเองนั้นก็ต่างก็มีความแข็งแรงในทางธุรกิจอยู่ทั้งหมด

อเมริกันฟุตบอลนั้นดูเหมือนกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นในประเทศญี่ปุ่นนี้ ท่านคิดว่าท่านจะใช้โอกาศนี้ก่อให้เกิดอะไรขึ้นบ้างครับ อีกทั้งท่านยังมีแผนที่จะให้ทีมดังๆ ของท่านนั้นมาเล่นในเอเซียนี้กันบ้างไหมครับ

ทีมกรีนเบย์แพ๊คเกอร์ของเรานั้นนับว่าเป็นตัวแทนวัฒนธรรมหนึ่งของชาววิสคอนซินเลยทีเดียว โดยมีความสำคัญเป็นหนึ่งในทีมก่อตั้งลีคแห่งชาติด้วยกัน ซึ่งนับว่าเป็นหนึ่งในลีคที่ได้รับความยมสูงสุดในประเทศตราบจนทุกวันนี้

เบสบอลเองก็เปรียบเสมือนวัฒนธรรมสำคัญของรัฐนี้เองเช่นกัน ซึ่งตอนนี้เอง ทีม มิลวอคกี้ บริเวอร์ ของเรานั้น ดูเหมือนกำลังไปได้สวยในแชมป์ปีนี้ ทีมมิลวอลกี้ บักส์เองด้วยก็เช่นกันที่ได้เล่นไปถึงรอบลึกๆ ของลีคในปีก่อนหน้า ซึ่งคาดว่าปีนี้ตำแหน่งทีมนี้น่าจะไปได้ไกลกว่าเดิมเช่นกัน

สำหรับกีฬาอื่นๆ นั้นเราก็ไม่เป็นสองรองใครด้วยเช่นกัน ซึ่งแต่ละกีฬาเราก็มีทีมมืออาชีพด้วยกัน อย่างเช่นทีม มิลวอลกี้ เวฟ สำหรับฟุตบอล,และทีมมิวอลกี้ แอดมิรัล สำหรับฮ็อกกี้, โดยยังมีทีมวิสคอนซิน แบ๊คเจอร์ สำหรับฟุตบอล, บาสเก็ตบอล, ฮ๊อกกี้ และวอลเล่ย์บอล โดยทีมหลังที่ว่านี้ถือว่าเป็นทีมระดับต้นๆ ของประเทศเลยทีเดียว

แล้วท่านมีข้อความอะไรจะฝากถึงผู้อ่าน JAPAN FORWARD หรือเปล่าครับ?

เรื่องความมั่นคงตอนนี้เป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับเราเช่นกัน ซึ่งเรานั้นต่างก็ตระหนักถึงภัยคุกคามของเกาหลีเหนือเหมือนกันๆ ซึ่งปัญหานี้นับว่าเป็นเรื่องสำคัญอย่างจริงจัง ซึ่งถ้ามันเกิดอะไรขึ้นแล้วล่ะก็ ในฐานะมิตรประเทศของประเทศญี่ปุ่น เราจะสู้กับมันไปด้วยกันจนถึงที่สุด

คู่มือสุดยอดวิธีการอ่านฉลากอาหารภาษาญี่ปุ่น

Posted on by

ได้เอาไปใช้ได้สะดวกกัน แม้คุณจะพูดญี่ปุ่นได้ แต่ย่อมก็ไม่รู้จักตัวอักษรหมดแน่นอน จึงเป็นงานยากพอดูที่จะแกะคำในภาษานี้บนฉลากอาหารต่างๆ แม้ฉันจะไม่ได้ครอบคลุมไปถึงส่วนประกอบแปลกๆ ซึ่งอาจต้องนำไปเขียนในหัวข้อถัดไป เพราะมันยาวมาก

แต่ฉลากในภาษาญี่ปุ่นนั้นก็ดูจะไม่ค่อยยอกข้อมูลเป็นเนื้อเดียวกันเท่าไรนัก อย่างเช่น ฉลากจะบอกคุณว่าในนี้ประกอบด้วยธาตุอาหารหลักๆ อะไรบ้าง แต่แทบจะไม่เอ่ยถึงวิตามินหรือแร่ธาตุที่ไม่สำคัญบอกกำกับไว้ด้วย (แต่ถ้าคุณซื้อพวกขนมปัง ซีเรียล ฯลฯ ข้อมูลพวกนี้มักจะขึ้นบอกด้วย)

ฉันพยายามแปลคำเพื่อให้เกิดความหลากหลายเท่าที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่บางคำนั้นอาจแตกต่างไปบ้าง แต่โดยรวมแล้วยังมีความหมายเดียวกัน อย่างเช่น “賞味期限” and “消費期限” ซึ่งทั้งสองคำนั้นมีความหมายเดียวกันคือ “ควรบริโภคก่อน, บริโภคก่อน” หรือ ง่ายๆ วันหมดอายุนั้นเอง.

และบอกไว้ก่อนเลยว่า ตารางข้างล่างนี้ ฉันไม่ได้แกะคำแบบคำต่อคำหรอกนะคะ ซึ่งคุณอยากแกะละก็ ตารางแกะคำศัพย์จะช่วยคุณได้อย่างแน่นอน ซึ่งคุณสามารถคัดลอกคำพวกนี้ที่ฉันทำมาให้แล้ว ไปใช่ต่อได้เลยคะ

ตารางคำศัพท์บอกฉลากในภาษาญี่ปุ่น

 

ตัวคันจิ ตัวฮิรากานะ ตัวโรมะจิภาษาอังกฤษเจอได้ที่ไหน
種類別名称  しゅるいべつめいしょうshuruibetsumeishouประเภท

ของอาหาร/ชื่อ

บนหัวฉลาก
名称めいしょうmeishouประเภท

ของอาหาร/ชื่อ

เหมือนข้างบน
種類別しゅるいべつshuruibetsuประเภท
種類  しゅるいshuruiประเภท/

หมวดหมู่

種類 + 別  หรือ

“種類別” เป็นความหมายเดียวกัน

商品名しょうひんめいshouhinmeiชื่อผลิตภัณฑ์ส่วนมากแล้วมักจะอยู่บนฉลาก
品名ひんめいhinmeiชื่อผลิตภัณฑ์เช่นเดียวกับข้างบน
商品 しょうひんshouhinชื่อผลิตภัณฑ์商品 + 名 หรือ “商品名” เป็นความหมายเดียวกัน
原材料名げんざいりょうめいgenzairyoumeiวัตถุดิบ/ส่วนประกอบอยู่ตรงด้านขวาข้างๆ คำว่า

“名称” หรือ “種類別”

内容量ないようりょうnaiyouryouปริมาณอยู่ใต้คำว่า  

原材料名 แต่บางครั้งก็ปรากฏอยู่ที่อื่น

内容ないようnaiyouส่วนประกอบ/สลาร内容量 หรือจำนวนปริมาณของสิ่งนั้น
りょうryouปริมาณ内容量 หรือจำนวนปริมาณของสิ่งนั้น
賞味期限しょうみきげんshoumikigenควรบริโภคก่อน/วันหมดอายุปรกติจะมีการ

บอกวันอยู่แล้ว แต่บางครั้งก็จะเขียนบอกว่า “ดูข้างๆ กล่อง” หรือคำอะไรประมาณนั้นในภาษาญี่ปุ่น

消費期限しょうひきげんshouhikigenควรบริโภคก่อน/วันหมดอายุเหมือนข้างบน
保存方法ほぞんほうほうhozonhouhouวิธีการเก็บรักษา

(หลังจากเปิดแล้ว)

จะเขียนอยู่ข้างบนข้อมูลต่างๆ
保存ほぞんhozonการเก็บรักษา保存方法 หรือ “วิธีการเก็บรักษา”
方法ほうほうhouhouวิธีเก็บ保存方法 หรือ

“วิธีการเก็บรักษา”

主要栄養成分しゅようえいようせいぶんshuyoueiyouseibunข้อมูบด้านโภชนาการ(หลัก)เขียนอยู่

ข้างบนของหัวข้อโภชนาการ

栄養成分えいようせいぶんeiyouseibunข้อมูบด้านโภชนาการเช่นเดียวกับข้างบน
栄養成分表示えいようせいぶんひょうじeiyouseibunhyoujiข้อมูบด้านโภชนาการเช่นเดียวกับข้างบน

 

主要しゅようshuyouส่วนประกอบหลัก主要栄養成分 หรือตรงในส่วนของข้อมูลด้านโภชนาการ
栄養えいようeiyouข้อมูบด้านโภชนาการ主要栄養成分 หรือ

栄養成分 “ข้อมูลบด้านโภชนาการ”

成分せいぶんseibunส่วนประกอบ主要栄養成分 หรือ

栄養成分 “ข้อมูลบด้านโภชนาการ”

表示ひょうじhyoujiรายชื่อ/ตาราง栄養成分表示 หรือ
“ข้อมูลด้านโภชนาการ”
産地さんちsanchiผลิตที่/ปลูกที่เอาไว้บอกที่มา

ของอาหารชิ้นนั้นๆ

原産国名げんさんこくめいgensankokumeiประเทศที่ผลิตเขียนบอกไว้ว่านี่เป็นสินค้านำเข้า
国産こくさんkokusanผลิตในประเทศเขียนบอกไว้ว่านี่เป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศ
さんsanสถานที่ผลิตปรกติจะเห็นคำนี้อยู่บนชั้น, ตรา ฯลฯ ที่จะเขียนบอกชื่่อสถานที่นั้นๆ พร้อมด้วยคำว่า   産 ว่ามาจากที่ไหนด้วยกำกับด้วยเช่นกัน
加工年月日かこうねんがっぴkakounengappiวันที่สินค้าเข้ากระบวนการผลิตมักจะเห็นในอาหารประเภท ซีฟู๊ด/เนื้อสัตว์ ที่จัดการมาเรียบร้อยแล้ว
養殖ようしょくyoushokuฟาร์มมักจะเห็นในอาหารประเภท ซีฟู๊ด/ปลา
解凍かいとうkaitou“เคย

ละลายการแช่แข็งไว้แล้ว”

มักจะเห็นฉลากพวกนี้บนอาหารประเภท ซีฟู๊ด/เนื้อสัตว์ ที่เคยคลายการแช่แข็งไว้ก่อนแล้ว
加熱用かねつようkanetsuyouปรุงก่อนรับประทานมักจะเห็นในอาหารประเภท ซีฟู๊ด/เนื้อสัตว์
刺身用さしみようsashimiyouใช้ทำซาซิมิได้มักจะเห็นในอาหารประเภท ซีฟู๊ด/เนื้อสัตว์
生食用なましょくようnamashokuyouสามารถกินดิบๆ/สดๆ ได้เลยมักจะเห็นในอาหารประเภท ซีฟู๊ด/เนื้อสัตว์
味付あじつけajitsukeปรุงรสมาเรียบร้อยแล้วมักจะเห็นในอาหารประเภท ซีฟู๊ด/เนื้อสัตว์ (สังเกตง่ายๆ คุณจะเห็นความแตกต่างจากผลิตภัณฑ์ปรกติ)

 

地鶏じどりjidoriใช้ระบบเลี้ยงแบบเปิดพบเห็นได้ใน

ผลิตภัฑณ์ประเภทเนื้อไก่

当たりあたりatari“ต่อ” หรือ

“สำหรับ”

1箱 (100g) 当たり

หรือ “ต่อ 1 กล่อง (100 g)”

はこhakoต่อกล่อง1箱 (100g) 当たり

หรือ “ต่อ 1 กล่อง (100 g)

パックpakkuต่อแพ็ค1パック (100ml) 当たり หรือ “ต่อ 1 แพ็ค (100ml)”
ーほん, ーぼん, ーぽん-hon, -bon, -ponต่อขวด(ที่มีขนาดยาว)1本 (53g) あたり
koต่อหน่วยทั่วไป1箱 (100g) 当たりหรือ

“ต่อ 1 กล่อง (100 g)”

ตารางบอกข้อมูลคำศัพท์ด้านคุณค่าโภชนาการ

ตารางข้างล่างนี้จะบอก “ข้อมูลด้านคุณค่าด้านโภชนาการ”  หรือ “ ข้อมูลผลิตภัณฑ์อาหาร” โดยปรกติแล้วมักจะบอก จำพวก แคลอรี่, หรือสารอาหารอื่นๆ แต่บางครั้ง ก็จะมีบอกพวกวิตามินและแร่ธาตุอื่นๆ เอาไว้ด้วยเช่นกัน

 

ศัพท์ญี่ปุ่นตัวฮิรากานะตัวโรมะจิภาษาอังกฤษหมายเหตุ
エネルギー             enerugii“พลังงานที่จะได้รับ” หรือ “แคลอรี่”
熱量ねつりょうnetsuryouแคลอรี่
たんぱく質        たんぱくしつtanpakushitsuโปรตีนมักเขียนในรูปแบบอื่นๆ เช่น “タンパク質” หรือ “たん白質”
炭水化物            たんすいかぶつtansuikabutsuคาร์โบไฮเดรต
ナトリウムnatoriumuโซเดียม
脂質ししつshishitsuไขมัน
カルシウム              karushiumuแคลเซียม
糖類とうるいtouruiน้ำตาลใช้คำเดียวกันว่า “砂糖,” พบเห็นคำนี้ได้ในส่วนของวัตถุดิบ
てつtetsuธาตุเหล็ก
亜鉛あえんaenสังกะสี
葉酸ようさんyousanกรดโฟลิก
食物繊維しょくもつせんい                     shokumotsuseniเส้นใยอาหารในตัวอักษรคันจินั้นอาจเขียนคนละแบบกัน
ビタミンbitaminวิตามินอาหารพวกขนมปัง/ซีเรียล มักจะเขียนบอกไว้ใต้ในส่วนของวัตถุดิบ โดยจะบอกเพิ่มเติมไปอีกว่า มีวิตามินใดในนี้มั้ง (B,C ฯลฯ)
食塩相当量しょくえんとうそうりょうshokuentousouryouปริมาณเกลือ

วิธีอ่านฉลากข้อมูลด้านโภชนาการ

ยกตัวอย่างด้วยภาพฉลากของซอส ช่องด้านบนจะมีตัวอักษรที่เขียนไว้ว่า “栄養成分表示 ซึ่งหมายถึง “ข้อมูลด้านโภชนาการ, คุณค่าทางโภชนาการ” และข้างๆ ข้อความดังกล่าวด้านซ้าย คุณจะเห็น ปริมาณที่ควรบริโภคต่อครั้ง ซึ่งในรูปนี้หมายถึง ต่อ 100 กรัม (100gあたり) โดยหมายเลขแสดงอธิบายทั้งหมดนั้นจะเป็นการอธิบายถึงคุณค่าทางโภชนาการต่อการบริโภคหนึ่งครั้ง (100 กรัม)

“あたり” สามาาถเขียนได้ทั้งสองแบบคือ  “当たり”    หรือ   “当り.”

ต่อไปคือการอ่านจำนวนแคลอรี่ทั้งหมด จากในภาพจะเขียนไว้คือ “エネルギー” แต่ยังสามารถเขียนได้อีกแบบคือ “熱量” ต่อจำนวน 100 กรัม ซึ่งในฉลากระบุในนี้มีทั้งหมด 89 แคลอรี่

โดยฉลากส่วนใหญ่นั้นมักจะแสดงข้อมูลทั้งหมดอธิบายเป็นแบบนี้ แตกต่างกันไป ซึงประกอบไปด้วย โปรตีน (たん白質), ไขมัน (脂質), คาร์โบไฮเครต(炭水化物), และ โซเดียม (ナトリウム) แต่สำหรับ น้ำตาลนั้น หลายๆ ฉลากและยี่ห้อนั้นมักจะคิดรวมไปอยู่กับ “คาร์โบไฮเครต” เลย แต่ในรูปนี้ ได้บอกว่ามีน้ำตาลประเภท ไลโคปีน(リコピン)  ผสมอยู่ด้วย พร้อมด้วยปริมาณเกลือ (食塩相当量) บอกไว้ด้วยเช่นเดียวกันซึ่งบางทีก็บอกไว้หรือไม่ก็ตาม แล้วแต่ยี่ห้อ

ลองตัวอย่างอีกสักหนึ่งตัวอย่างกันไหมคะ

ในรูปนี้เราจะเห็นแคลอรี่เขียนไว้คือ “エネルギー” ตามด้วยโปรตีน (たんぱく質),ไขมัน (脂質), คาร์โบไฮเครต (炭水化物), และ โซเดียม (ナトリウム) ร่วมด้วยธาตุอื่นๆ ประกอบไปด้วย แคลเซียม (カルシウム), แม็คนีเซียม (マグネシウム), เหล็ก(鉄), สังกะสี(亜鉛), เลซิทิน (レシチン), คอเลสเตอรอล(コレステロール), และ ไอโซฟลาโวน (イソフラボン).

ต่อไปเรามาดูฉลากของโยเกิร์ตกัน

อีกครั้งเราจะได้เห็นคำว่า คุณค่าทางโภชนาการ ระบุอยู่ “栄養成分” และ คำว่า (100g当たり) ซึ่งหมายถึงต่อการบริโภคหนึ่งครั้ง 100 กรัม

ครั้งนี้เราจะสังเกตคำว่า แคลอรี่ นั้นเขียนเป็นอีกแบบหนึ่งคือ “熱量” แทนที่จะใช้คำว่า  “エネルギー”  แทน นอกจากนั้นในฉลากเราจะเห็น โปรตีน  (たんぱく質), ไขมัน (脂質), คาร์โบไฮเครต (炭水化物), โซเดียม sodium (ナトリウム) และ แคลเซียม  (カルシウム) ระบุไว้ในฉลากตามลำดับ

ทางด้านขวาของฉลากนั้น ใต้คำว่า ประกอบด้วยส่วนประกอบอื่นๆ คือ  関与成分 (かんよせいぶん, kanyo seibu,) ซึ่งในนี้ได้ระบุว่ามีแบคทีเรียแบบมีประโยชน์อะไรประกอบอยู่ในนี้บ้าง (พิมพ์ระบุด้วยตัวเอียง)

สุดท้ายนี่เรามาดูที่ฉลากของกราโบล่ากันคะ ซึ่งในรูปนี้ฉันเขียนอธิบายไว้หมดแล้วทางด้านซ้าย โดยจากในรูปคุณจะได้เห็นว่่ามีวิตามินและแร่ธาตุหลากหลายระบุเขียนบอกไว้ด้วยเช่นกัน (ยกเว้นหัวข้อคอลัมน์ด้านซ้ายที่เขียนไว้ว่า ข้อมูลของนม)

โปรดสังเกตว่า คาร์โบไฮเดรต (炭水化物) ได้ระบุออกเป็นสองส่วนคือ น้ำตาล(糖類) และ ใยอาหาร(食物繊維) โดยการแบ่งแบบนี้คุณจะไม่ได้เห็นบ่อยๆ ในฉลากอื่นๆ

 

วิธีการสมัครสมาชิครับบริการจัดส่งวัตถุดิบอาหารของเว็บ Oisix

Posted on by

สำหรับคนที่เคยได้อ่านบทความ วิธีหาบริการจัดส่งวัตถุดิบอาหารเพื่อสุขภาพในประเทศญี่ปุ่น  ก่อนหน้าแล้วสนใจอยากจะสมัครสมาชิกกันดูและนี่คือวิธีการง่ายๆ ในเว็บของ Oisix กันคะ แต่มีถ้าเกิดปัญหาอะไรขึ้นแล้วล่ะก็ คุณจะต้องพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ของเว็บนี้เป็นภาษาญี่ปุ่นเท่านั้นนะคะ (หรือถ้าใครมีเพื่อนก็ลองขอช่วยดู) แล้วถ้าหากคุุณอยากจะเปลื่ยนอะไรในสินค้าที่กำลังจะจัดส่งแล้วล่ะก็ คุณก็ควรเปลื่ยนภายในสองสามวันก่อนกำหนดส่งนะคะ และวิธียกเลิกการจัดส่งก็ใช้เวลาเดียวกัน

วิธีสมัครสมาชิคสำหรับการสั่งซื้อวัตถุดิบอาหารของ Oisix

ขั้นแรก : คลิกเข้าไปที่เว็บไซด์ Oisix แล้วเลือกคลิกไปไที่ปุ่มสีเหลืองข้างล่างที่เขียนไว้ว่า さっそく使ってみる

ขั้นที่สอง : เมื่อคลิกเข้ามาแล้ว เว็บก็จะแสดงเพจแบบด้านล่างขึ้นมา จึงดำเนินขั้นที่สามต่อไปได้เลยคะ

ขั้นที่สี่ : อย่างแรกเลยก็เลือก “ชุด” ที่คุณต้องการ โดยปุ่มสีเหลืองอันแรกนั้นหมายถึง “ชุดเล็ก” (ミニコース) สำหรับ 1-2 คน ปุ่มสีแดงอันที่สองถัดมาคือ “ชุดกลาง”  (お手軽, おてがる) สำหรับ 2-3 คน และสุดท้ายปุ่มสีเขียวคือชุด “ชุดครอบครัว”  (ファミリーコース) สำหรับ 3 คนขึ้นไป

ขั้นที่ห้า : ถ้าคุณมี Yahoo Japan ID ในหน้านี้ก็กดล็อคอินเข้าไปเลยคะ แต่ถ้าไม่มีคุณก็คลิกไปที่ปุ่มสีเทาที่เขียนไว้ว่า  初めての方はこちら.

ขั้นที่หก : กรอกข้อมูลทั่วไปอย่างเช่น ชื่อ บ้านเลขที่ ที่อยู่ อีเมล รหัสผ่าน วันเกิด ฯลฯ (กดเพื่อขยายขนาดภาพ)

ขั้นที่เจ็ด : ในช่องสีแดงช่องแรก ให้คุณเลือก วันและเวลา ที่ต้องการรับของ (เช่น วันอาทิตย์ หรือ วันเสาร์ตั้งแต่เวลา 6 โมงเย็น ถึง 2 ทุ่มเป็นต้น) (กดเพื่อขยายภาพ)

ในช่องสีแดงช่องที่สองนั้น เป็นการเลือกความถี่ในการรับสินค้า ซึ่งมีตัวเลือกให้ดังนี้ : ทุกสัปดาห์ (毎週配達) หรือ ทุกสองสัปดาห์ (隔週配達).

และช่องสีแดงช่องสาม คือ การอนุญาติแทนที่ของถ้าเกิดว่าสินค้านั้นเกิดหมดไป ถ้าคุณต้องการอย่างนั้นก็ไม่ต้องติ๊กออกนะคะ

และ ช่องสีแดงที่สี่ คือ การชำระค่าสินค้า  ซึ่งมีตัวเลือกดังต่อไปนี้

自動引き落とし –  หักเงินในบัญชีโดยอัตโนมัติ

クレジットカード – เครดิตการ์ด

楽天銀行決済 – ชำระผ่านธนาคาร Rakuten

ジャパンネット銀行決済 – ชำระผ่านทาง Japan Net Bank payment

Edy決済 – ชำระผ่านทาง  Edy payment

โดยถ้าคุณเลือกชำระแบบหนักเงินในบัญชีอัตโนมัติแล้วล่ะก็ มันจะเขียนบอกเพิ่มเติมอีกว่าในสามอาทิตย์แรกคุณต้องชำระผ่านร้านสะดวกซื้อก่อนเท่านั้น แต่มันก็ไม่เชิงซะทีเดียว เพราะฉันเองก็ยังได้รับของอยู่ทุกครั้ง โดยจ่ายผ่านร้านสะดวกซื้อแค่เดือนละครั้งเท่านั้น โดยที่ยังไม่ต้องใช้ใบทำเรื่องหักเงินดังกล่าวเลย ด้วยเหตุนี้ฉันก็เลยจ่ายผ่านร้านสะดวกซื้อต่อไป

หลังจากเลือกข้อต่างๆ ข้างบนเสร็จแล้วก็กดคลิกที่    次へ.

ขั้นที่แปด : สุดท้่ายนี่คือหน้าเพจยืนยันข้อมูลต่างๆ ให้คุณทบทวนข้อมูลต่างๆ ว่าถูกต้องหรือไม่ ถ้าครบแล้วก็เพียงแค่คลิก  おいしっくすくらぶ に申し込む เพื่อยินยันการลงทะเบียนข้อมูล

เสร็จแล้วล่ะคะ! ขอให้สนุกนะคะ เจ้าคนรักสุขภาพทั้งหลาย!

วิธีหาบริการจัดส่งวัตถุดิบอาหารเพื่อสุขภาพในประเทศญี่ปุ่น

Posted on by

ในช่วงปีแรกของที่นี่ ฉันก็เริ่มหาบริการจัดวััตถุดิบอาหารเพิื่อสุขภาพสักทีนึง แม้ฉันจะเคยๆ ทำอยู่บ้างเมื่อตอนที่ฉันยังอยู่ที่ประเทศบ้านเกิด แต่ด้วยเหตุผลหรือภาระบางอย่างทำให้เลิกล้มความคิดนี้ไป แต่เมื่อฉันได้ค้นหาเรื่องเขียนเกี่ยวกับ ตลาดชาวนาในประเทศญี่ปุ่น ของบทความเมื่อครั้งก่อน ขณะเดียวกันนั้นฉันก็ค้นหาบริการที่ว่านี้ด้วยควบคู่กันไป ซึ่งอาจเรียกได้ว่ากว่าจะเจอก็ยากเอาการเลยทีเดียวเชียว

ฉันลองเลือกใช้บริการของ Warabe Mura (เดี๋ยวอธิบายไว้ข้างล่างนะคะ) อยู่พักนึง เพราะว่าพวกเขานั้นมีตัวเลือกภาษาอังฤษอยู่ให้เลือกใช้ และฉันเองก็ชอบการบริการของที่นี้เช่นกัน ถึงแม้ว่าของทีนี้อาจมีสักสองสามอย่างที่ฉันกินไม่ค่อยจะได้ จัดส่งมาให้เป็นประจำอย่าง มะเขือเทศ (ฉันแพ้) แต่อย่างว่าจะดีไม่น้อยเลย ถ้ามีสักเจ้าที่คุณจะเลือกวัตถุดิบอาหารที่จะซื้อได้

แต่ฉันก็ไม่ได้หาร้านใหม่อีกเลย จนกระทั่งเริ่มหาใหม่อีกครั้งหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวหนักครั้งก่อนได้คลี่คลายลง ซึ่งผลพวงเหตุการณ์นั้นทำให้ทุกคนต่างเริ่มตระหนักถึงผลกระทบจากรังสีที่ปนเปื้อนลงไปในอาหารที่วางขายอยู่กันมากขึ้น (อีกทั้งตอนนั้น ฉันก็ยังท้องอยู่ด้วย) แม้ตัวฉันเองจะอยู่ที่ซิซูโอกะ ซึ่งถ้าไม่นับพืชผักที่ปลูกขายของที่นี้แล้วล่ะก็ โดยส่วนมากแล้วก็จะมาจากเขตฮอกไกโดหรือ

แถบเขตโทโฮคุแทนแทบทั้งสิ้น ถึงแม้ว่าฉันจะพยายามซื้อของท้องถื่นจากที่นี้เท่าที่เป็นไปได้ แต่อย่างว่านะ บางครั้งฉันเองก็อยากจะได้ชุดวัตถุดิบอาหารดีๆ พวกนี้สักกล่อง อาทิตย์ละกล่องบ้าง เพื่อเด็กในท้องอ่ะนะ หลังจากที่ได้ค้นหามาบ้าง ฉันก็พบและลองเลือกใช้เจ้าบริการจัดส่งเจ้าใหม่อย่าง Oisix สักหน่อย (เดี๊ยวบอกเพิ่มเติมข้างล่างคะ)

ถ้าคุณนั้นกำลังตั้งครรถ์หรือมีเจ้าตัวเล็กอยู่ในบ้าน แต่เวลานั้นคุณเกิดป่วยหรือไม่สบายจนการออกไปซื้อของข้างนอกเป็นเรื่องที่ลำบากแล้วล่ะก็ บริการจัดส่งวัตถุดิบอาหารเหล่านี้ก็เป็นอีกหนึ่งทางที่คุณควรลองใช้กันดูคะ

ราคาและข้อกำหนดอื่นๆ

บริการจัดส่งหลายๆ ที่นั้นก็มีการให้เราเลือกจ่ายได้หลากหลายเลือกด้วยเช่นกัน โดยมีทั้งแบบต้องสมัครสมาชิคก่อน หรือ ให้ลองใช้เป็นเวลาต่างๆกันไป บางทีก็ให้จ่ายแบบเก็บเงินปลายทาง หรือ หักเงินจากบัญชีคุณโดยตรงเลย หรือมีแม้กระทั่งใช้เครดิตการ์ดด้วยเช่นกัน ซึ่งบางเจ้าก็อาจมีส่วนลดให้กับสาวที่กำลังตั้งครรถ์อยู่เช่นกัน ซึ่งข้อมูลพวกนี้ผู้สนใจจะมีช่องให้กรอกข้อมูลเพิ่มเติมลง

ราคาต่อกล่อง โดยส่วนมากแล้วขึ้นอยู่กับจำนวนวัตถุดิบจัดส่งในกล่องนั้นๆ โดยกล่องเล็กสำหรับหนึ่งคนนั้น อาจมีอยู่สัก 3-6 อย่าง โดยจะตกราคาประมาณ 1500 เยน หรือถ้าคุณเลือกสั่งเป็นกล่องใหญ่แล้วล่ะก็ ราคาก็จะเพิ่มขึ้นเป็น 3500-4000 เยน ซึ่งในนั้นอาจมีวัตถุดิบเพิ่มขึ้นเป็น 10-12 อย่างเป็นต้น (รวมไข่ด้วย) ซึ่งฉันเองก็ได้เลือกชุดจัดส่งแบบหลังที่กล่าวมาของบริษัท Oisix ซึ่งกล่องในบริการของเข้านั้นได้จัดส่งวัตถุดิบอาหารมากมายอย่างเช่น เนย และ โยเกิร์ตที่โรยหน้าด้วยผักและผลไม้มาให้ แม้ว่าราคาปรกติของเจ้ากล่องไซด์นี้จะตกอยู่ที่ 6000 เย็น แต่เราก็ได้เลือกลดรายการบางอย่างลงไปในตัวเลือกในส่วนของ “เด็กในท้องและเด็ก”(อธิบายเพิ่มเติมข้างล่าง) ด้วยวิธีที่ว่านี้กลับลดค่าใช้จ่ายในส่วนวัตถุดิบพวกพืชผักในบ้านได้พอดูเลยคะ แม้ยังไงคุณก็ต้องไปซื้ออะไรที่ร้านเพิ่มเติมอยู่บ้างในสัปดาห์นั้นอยู่ดี

แม้บริษัทจะมีการจัดส่งด่วน พร้อมด้วยผลิตภัณฑ์ออแกนนิคและเนื้่อสัตว์ให้เลือกมากมายหลายชนิดให้เลือกสรร แต่ด้วยตัวเลือกดังกล่าวที่เพิ่มมานั้น อาจทำให้ราคารวมนั้นอาจดูแพงกว่าร้านขายของทั่วไปซะอีก (ซึ่งคุณเองสามารถซื้อของพวกนี้ได้ตามร้านขายทั่วไปๆ หรือที่ ตลาดชาวนาแถวบ้านๆ ได้เช่นกัน) แต่โดยสรุปแล้วถ้าเมื่อคิดราคาของพวกนี้จากความสะดวกสบายและเพื่อสุขภาพแบบไม่ต้องออกไปข้างนอกซื้อให้เหนื่อยแล้วล่ะก็มันก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยของแต่ละคนล้วนๆเลยละคะ

ค่าจัดส่ง  ขึ้นอยู่กับที่ๆ คุณอยู่ (แน่นอนสิ) แต่โดยรวมแล้วค่าจัดส่งถูกใช้ได้เลยทีเดียว ซึ่งบางทีก็จัดส่งให้ฟรีด้วยถ้าคุณสั่งในจำนวนที่เค้ากำหนดมา

เรื่องของการจัดส่งทางออนไลน์ และ ชุดวัตถุดิบอาหารเพื่อสุขภาพในประเทศญี่ปุ่น

ทุกเว็บที่แนะนำมานี้ ล้วนเป็นภาษาญี่ปุ่นหมด ถ้ามีอะไรจะเพิ่มเติมฉันจะเขียนบอกเอาไว้ให้

Osix (おいしっくす) – จัดส่งวัตถุดิบอาหารออแกนนิค อาหารแห้ง เนื้อสัตว์ ไข่ ปลา อาหารซีฟู๊ด

หลายประเภทๆ โดยซึ่งมีให้เลือกผลิตภัณฑ์แบบปลอดรังสีด้วยเช่นกัน ซึ่งสามารถเลือกได้ในส่วนของ “เด็กในท้องและเด็ก” ให้เลือกเพิ่มเติม โดยคุณสามารถเลือกจัดส่งแบบเป็นรายสัปดาห์ได้ (เลือกขนาดได้) และยังสามารถปรับแต่งวัตถุดิบอาหารที่จะจัดส่งได้ในนั้นได้ด้วยเช่นกัน (ถ้าคุณทำไม่เกินเวลาที่เค้ากำหนดไว้ให้ในแต่ละสัปดาห์) Osix ยังเป็นหนึ่งในบริษัทขนส่งวัตถุดิบอาหารยอดนิยมที่สุดในประเทศนี้ อีกด้วยและย่อมแน่นอนเลยว่า ยินดีจัดส่งไปให้คุณทั่วทุกพื่นที่

Radish Boya (らでぃっしゅぼーや) – บริการจัดส่งชุดวัตถดิบอาหารเพื่อสุขภาพเช่นเดียวกัน ซึ่งในนั้นคุณสามารถเลือก ผลไม้ หรือ ไข่ หลายๆ อย่างลงไปให้เลือกสรรค์ หรือขึ้นอยู่กับจำนวนคนสั่งหรือสั่งให้ใคร พร้อมด้วยยังมีวัตถุดิบอาหารอื่นๆ ให้เลือกเพิ่มเติมเข้าไป ถ้าคุณสนใจอ่ะนะ โดยที่นี้จัดส่งทั่วประเทศ และ บางทีอาจจัดส่งโดยผ่านบริการจัดส่งเจ้าอื่นเช่นกัน

Warabe Mura  – (ใช้คำนี้ได้เลยในภาษาอังกฤษ) – โดยที่นี่ก็มีชุดวัตถุดิบอาหารเพื่อสุขภาพให้เลือกหลายรายการ คล้ายกับบริการของ Tengu Natural Foods.

Daichi wo Mamoru Kai (大地を守る会) – ขายสินค้าออแกนนิค อาหารแห้ง เนื้อสัตว์ ไข่ ปลา/ซีฟู๊ด หลายๆประเภท และยังมีให้เลือกวัตถุดิบอาหารเพื่อสุขภาพแบบปลอดรังสีสำหรับเด็กให้เลือกด้วยเช่นกัน (แบบปรกติก็มีด้วยเช่นกัน) พร้อมจัดส่งทั่วประเทศ

Pal System Co-op (パルシステム) – เมื่อคุณสมัครสมาชิคแล้ว ในทุกอาทิตย์คุณก็สามารถเลือกวัตถุดิบอาหารต่างๆ ได้ตามใจ โดยคุณสามารถเลือกสั่งผ่านทางออนไลน์ได้ เฉพาะผู้อยู่ในเขตจังหวัดซิซูโอกะ,  ยามานาซิ, ฟุกุชิมะ เท่านั้น

Co-op Net  (コープネット) – เป็นชื่อเดียวกับร้านขายของในเขตคันโตและซิซูโอกะและยามานาซิ ในนี้มีรายการวัตถุดิบอาหารให้เลือกมากมายเช่นเดียวกัน จัดส่งให้คุณทุกอาทิตย์ละครั้ง อีกทั้งยังมีร้าน Ouchi Co-op ให้คุณเลือกใช้ ถ้าคุณอยู่ในเขตจังหวัด คา่นากาว่า ซิซูโอกะ หรือ ยามาซาชิ ได้ในเว็บข้างล่างนี้ และยังมี  Co-op deli ถ้าคุณอยู่ในเขตจังหวัดคันโต ด้วยเช่นกัน ได้เลยจากเว็บนี้

Co-op Kobe  (コープこうべ ) – สำหรับผู้อาศัยในเขตจังหวัดคันไซ โดยที่นี้เป็นอีกเจ้าหนึ่งที่จัดส่งวัตถุดิบต่างๆ มาให้ทุกสัปดาห์ ซึ่งจัดส่งในเขตจังหวัดเฮียวโงะ  โอซาก้า เกียวโต และเมืองอื่นๆ แถวๆ นั้น

และยังมีบริการจัดส่งวัตถุดิบอาหารเจ้าดีอื่นๆ อีกได้ในลิงค์ข้างหลังนี้  (เป็นภาษาญี่ปุ่นล้วน)

แล้วผู้อ่านล่ะคะใช้บริการจัดส่งวัตถุดิบอาหารหรือชุดอาหารสุขภาพจากที่ไหนบ้างกันหรือเปล่า หรือมีเจ้าใดแนะนำกันบ้างไหมละคะ

การหาตลาดชาวนาในประเทศญี่ปุ่น

Posted on by

ถ้าคุณอยากจะหาวิธีประหยัดค่าใช้จ่ายเมื่อได้มาอยู่ประเทศนี้แล้วล่ะก็ การซื้อหาของในตลาดชาวนานั้นก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยคุณผู้อ่านได้มากเลยเช่นกัน ถึงแม้ว่าจะมีบ้างที่ห้างหรือร้านซุปเปอร์มาร์เก็ตใกล้ๆ บ้านคุณนั้นจะมีโซนขายของพวก ท้องถิ่น หรือ ออร์แกนิค จัดแบ่งไว้ให้ในที่ดังกล่าวด้วยเช่นกัน (ขึ้นอยู่กับบางทีอ่ะนะ แต่ส่วนมาก ร้านพวกนั้นย่อมขายสินค้าท้องถิ่นอยู่แล้ว) แต่เพื่อความชัวร์นั้นเราควรจะไปซื้อที่ตลาดชาวนาโดยตรงเลยซะดีกว่า  ตลาดชาวนา (ファーマーズマーケット) หรือ “ตลาดช่วงเช้า”(Morning Market) (朝市, あさいち, asaichi).

เมื่อครั้งมาแรกๆ ฉันเองก็ถามเจ้าตลาดแบบนี้กลับเพื่อนร่วมงานเช่นเดียวกัน ทุกคนต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า แถวๆ นี้ไม่มีหรอก ด้วยเหตุนี้การค้นหาของฉันก็เลยสิ้นสุดลงไป อย่างน้อยฉันน่าจะค้นหาเจอบ้างสักที่นะคะ

หลายปีผ่านไปฉันก็เริ่มเห็นการเปลื่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ตลาดชาวนาต่างก็เริ่มมีมาเปิดที่นี้กันมากขึ้น และที่ฉันชอบอีกสิ่งหนึ่งก็คือในเรื่องของราคาที่แทบจะถูกมากเลยทีเดียวถ้าวางขายตามร้านซุปเปอร์มาร์เก็ตแถวบ้าน ด้วยความถูกสุดๆ นี้ฉันจึงจัดผลไม้และผักไปมากมายจนแถบหอบไม่ไหวเลยทีเดียว คุณผู้อ่านเชื่อไหมคะ ว่าทั้งหมดนี้แค่ 100 เยนหรือน้อยกว่านี้นิดนึงเอง แล้วฉันประหลาดใจด้วยอีกว่าเมื่อหลายอาทิตย์ก่อนที่ตลาดนั้น ฉันเห็นผลบลูเบอร์รี่วางขายแพ๊คใหญ่เชียวซึ่งราคาเมื่อเทียบกับในร้านซุปเปอร์มาร์เก็ตแล้วล่ะก็ ฉันไม่ได้ชอบกินเจ้าผลไม้นี่หรอกนะ แต่เมื่อมองดูของที่ได้กับราคาสิคะ รับรองเลยว่า นี่มันเป็นอะไรที่ไม่ควรพลาดมากๆ

แม้คุณจะได้ของดีในราคาที่แจ่มๆ ขนาดนี้ แต่ตลาดชาวนานี้นั้นมักจะไม่ได้มีของวางขายอยู่

ทุกอย่างนะคะ เพราะที่ตลาดนี้เค้าจะขายของพวกที่ปลูกได้ตามฤดูกาลเท่านั้น (มันก็ไม่ได้แย่อะไรมากมายเลยนะ)

เว็บที่ฉันแนะนำข้างล่างนี้จะช่วยให้คุณผู้อ่านได้ค้นหาตลาดชาวนาใกล้ๆ บ้านคุณได้สะดวกยิ่งขึ้นกันคะ

ลองเช็คเว็บ Asaichi ดูก่อนเลย!  

เว็บนี้จะให้คุณได้ค้นหาเหล่าตลาดชาวนาทั่วประเทศนี้ แม้จะไม่ได้บอกทุกที่ก็ตาม คงเป็นเพราะที่เว็บนี้ใช้ระบบให้ผู้เข้าชมเพิ่มเติมข้อมูลเข้าไปเอง (เพราะนี่แหละมั่งจึงทำให้บอกข้อมูลได้ไม่หมด)

ซึ่งข้อมูลในเว็บนี้ล้วนแสดงในรูปแบบภาษาญี่ปุ่นทั้งหมด แต่ก็คงไม่ได้ยากอะไรหรอกนะคะ ถ้าคุณรู้ทางต่างๆ ในประเทศนี้พอสมควร

ลองใช้คำค้นหาว่า  “ファーマーズマーケット” หรือ “朝市” ใน 

ลองใช้ทั้งสองคำนี้ดูนะคะ มันอาจมีขึ้นแสดงมาบ้างสักที่สองที่ก็เป็นได้ แต่จากประสบการณ์ของฉันที่เคยใช้นะ มันก็คือบ้างแต่ไม่หมดทุกที่

ลองใช้คำค้นหาว่า “朝市” เพิ่มด้วยเมือง/เขต ที่คุณอยู่ในภาษาญี่ปุ่น

ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณอยู่ที่เมืองโยโกฮาม่า คุณก็ลองใช้คำค้นหาว่า ““朝市 横浜” ดูคุณจะพบว่ามีหลายที่

แสดงขึ้นมาทีเดียวเชียว – และยังแสดงผลค้นหาที่แนะนำโดยทางเทศบาลเมืองโดยเช่นกัน

เข้าเว็บไซด์ทางการในเมืองที่คุณอยู่ และใช้คำค้นหาว่า “朝市”

หรือคุณลองเข้าไปถามที่ศาลากลางเมืองโดยตรงเลยก็ได้คะ ว่าคุณรู้จักตลาดชาวนาแถวนี้ๆ บ้างไหม (ด้วยประโยคง่ายๆ ดังต่อไปนี้ “asaichi wa chikaku ni arimasu ka”.)

แนะนำเลยว่าถ้าเป็นไปได้เลยเมื่อไปถึงแล้ว ลองซื้อข้าวสารจากพ่อค้าแม่ค้าชาวนาเหล่านี้ดูนะคะ แต่เฉพาะเมื่อคุณผู้พูดภาษาญี่ปุ่นได้นะคะ หรือว่าลองซื้อกับคนขายที่พูดภาษาอังกฤษได้ดู เพราะเท่านี้คุณก็เหมือนได้ช่วยส่งเสริมพวกเค้าอีกทางหนึ่งคะ

แล้วคุณละคะเคยไปที่ตลาดชาวนาพวกนี้บ้างไหมเอ่ย หรือ มีที่ไหนสักที่ที่อยากจะแนะนำก็ได้เลยคะ

Category: ตลาด

อะไรคือ “เครื่องดื่มแคลอรี่น้อย” กัน แล้วเราควรจะใส่ใจเรื่องนี้ไปทำไม

Posted on by

ในช่วงเวลาที่อยู่ที่นี้ ฉันเองก็ได้ผ่านเห็นการเปลื่ยนแปลงของที่นี้หลายสิ่งแม้มันจะค่อยๆ ช้าๆ ก็ตามที หนึ่งในนั้นก็คือในเรื่องของเครื่องดื่มจำพวก “แครอรี่น้อย” นี่แหละ เมื่อฉันมาอยู่ที่นี่แรกๆ ใหม่ๆ นั้นเครื่องดื่มจำพวกนี้มีให้เลือกไม่เยอะเท่าไรนักหรอก แต่หลายๆ ปีผ่านไป เครื่องดื่มๆ หลายยี่ห้อต่างก็เปลื่ยนโฉมตัวเองกลายเป็นแบบ “แครอรี่น้อย” กันไปหมดสิ้น รวมทั้งเครื่องดื่มโปรดของดิฉันอย่าง Mitsuya Cider ด้วยเช่นกัน (ฉันเองก็ชอบยี่ห้อ CC Lemon เหมือนกันนะ แต่ยี่ห้อนี่กลับโดนมากกว่า)

ณ ตอนนี้ในร้านสะดวกซื้อหลายๆ สาขาแถวบ้านๆ  コンビニ (ร้านสะดวกซื้อ) การที่จะหาน้ำอัดลมอะไรก็ตามที่ไม่ใช่ “แครอรี่น้อย” สักกระป๋องนั้นกลับกลายเป็นเรื่องยากแทนพอดูเชียว (แม้ไม่ใช่น้ำอัดลมก็ตาม) โดยปรกติฉันก็ไม่ได้ื่มน้ำอะไรนอกจากน้ำเปล่าเป็นประจำซะมากกว่า (นอกจากชาหรือพวกน้ำผลไม้) ซึ่งบางครั้งบางคราวก็มีรุ่น “พิเศษจำนวนจำกัด” วางขายอยู่ ฉันก็เลยขอลองสักหน่อย และคุณเดาได้เลยว่า เจ้าเครื่องดื่มพวกนี้ก็”แคลอรี่น้อย” เช่นกัน

แล้วอะไรกันคือ เครื่องดื่ม “แคลอรี่น้อย” พวกนี้กัน ว่ากันง่ายๆ ก็คือเครื่องดื่มใช้ส่วนผสมของสารให้ความหวานแทนน้ำตาลจริงๆ ซึ่งโดยปรกติแล้วมักจะใช้ซูคราโลสเป็นส่วนผสมให้ความหวานหลักแทน แม้น้ำตาลหรือน้ำเชื่อมข้าวโพดโดยปรกติแล้วนั้นก็ไม่ดีต่อสุขภาพของเรากันอยู่แล้ว แต่ก็มีบางคนคิดว่าการที่เราได้รับ แคลอรี่ แบบ ต่ำๆ หรือ น้อยๆ นั้นก็เป็นหนทางหนึ่งในการรักษาสุขภาพในรูปแบบทางหนึ่งแทน

ซึ่งการดูฉลากพวกเครื่องดื่มแคลอรี่น้อยนั้น คุณสามารถสังเกตได้ที่ฉลากดังต่อไปนี้

カロリーオフ (ปลอดแคลอรี่)

ゼロカロリー (แคลอรี่ศูนย์เปอร์เซ็นต์)

カロリーゼロ (แคลอรี่เป็นศูนย์)

และเมื่อคุณพลิกดูในส่วนของส่วนประกอบแล้วล่ะก็ ส่วนมากแล้วคุณก็จะเห็นเจ้า ซูคราโลส เป็นส่วนประกอบอยู่ในนั้นด้วยเช่นกัน スクラロース (sucralose).

บางครั้งคุณเองก็จะเห็นว่ามีส่วนผสมเพิ่มอย่าง หญ้าหวาน นั้นเป็นส่วนประกอบเพิ่มเข้าไปด้วยในส่วนของสารให้ความหวานแทน ซึ่งไม่มีผลเสียอย่างใดแก่สุขภาพ (ซึ่งเจ้าหญ้าหวานนี้มีรสหวานธรรมชาติที่มากกว่าน้ำตาลอยู่แล้ว จึงใช้ในแค่ปริมาณที่เล็กน้อยผสมลงไปเท่านั้น) แต่อย่างไรก็ตาม พวกเครื่องดื่มและอาหารส่วนมากที่มีส่วนผสมของหญ้าหวานพวกนี้มักจะมีส่วนผสมของสารให้ความหวานเพิ่มเข้าไปด้วย เพราะเนื่องจากอาจหวานไม่พอสำหรับอาหารหรือเครื่องดื่มดังกล่าว

ซึ่งในท้ายสุดแล้วเกิดความกังวลเกี่ยวกับเจ้าสารให้ความหวานพวกนี้ล่ะก็ ก็ควรหลีกเลี่ยงพวกเครื่องดื่ม “แคลอรี่น้อย” นี่ด้วยเช่นกัน

วิธีการหาผักเคลในประเทศญุี่ปุ่น โดย แอซลี่ย์

Posted on by

อ๊า! พบซะที! เจ้าผักเคลในประเทศนี้ ฟังดูควรจะเป็นเรื่องเหล่านี้ควรจะเป็นเรื่องง่ายๆ ใช่ไหมล่ะคะ ที่จะหาผักเคลในประเทษนี้ ถ้าคุณไม่หมายเจ้าพวกกล่องและซองน้ำผักเคลที่หาได้ทั่วไปตามร้านค้าต่างๆ ก็นะ (あおじる, aojiru, น้ำผักสีเขียว ส่วนมากแล้วมักอยู่ในรูปของผง) แม้คุณจะใช้คำว่าผักเคลในภาษาญี่ปุ่นอย่าง ““ケール” (kale)” แต่ในเนตก็ล้วนแต่เจอเจ้าผงผสมน้ำยี่ห้อนี้เต็มไปหมด แม้ตัวฉันเองก็ชอบดื่มมันก็ตามทีก็ตาม (สำหรับคนที่ไม่รู้ ผงยี่ห้อ Aojiru นี้ก็มีส่วนผสมของหญ้าบาร์เลย์และผักสีเขียวอื่นๆ ผสมอยู่ในนั้นด้วย) โดยเหมาะมากถ้าเอาเจ้าผงน้ำผักแสนอร่อยนี้ไปเติมรสชาติให้กับน้ำปั่น นม หรือ แค่น้ำเปล่าเฉยๆ ก็ล้วนทำให้เครื่องดื่มในแก้วนั้นรสชาติเยี่ยมยิ่งขึ้นไปอีกเช่นกันคะ ถึงแม้ฉันจะเป็นแฟนตัวยงของเจ้าผงผักละลายน้ำยี่ห้อนี้ ก็มันก็นะ เมื่อยากทำน้ำผักเพื่อสุขภาพจริงๆ สักแก้วแล้ว มันจะยากอะไรเล่าที่จะหาเจ้าใบผักเคลจริงๆ คงจะไม่ลำบากอะไรมากนักหรอกนะ

กรรมจริง..จนตอนนี้ เมื่อเดินหาตามร้านค้าแถวบ้านฉันก็ไม่เห็นวี่แววของเจ้าผักเคลสดๆ นี้วางขายอยู่สักใบเดียว แม้จะลองค้นหาตามเว็บดู ผลลัพธ์ก็ไม่มีอะไรดีเกิดขึ้นเช่นกัน จนกระทั่งเมื่อวาน ฉันก็ลองค้นหาผ่านเว็บอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ฉันใช้คำในการค้นหาว่า “ใบเคล” แทน และทันใดนั้น! ในที่สุดมันก็แสดงขึ้นมา! และนี่ฉันพบว่า เราควรจะใช้คำค้นหาเจ้าผักสดๆ นี่สองวิธีอันได้แก่

 

อีกทั้งคุณยังสามารถเลือกซื้อหาผักเคลสดๆ ได้มากมายหลายเว็บโดยใช้คำค้นหาเหล่านี้ พร้อมๆ กับเว็บเหล่านี้ที่ฉันแนะนำข้างล่างก็ได้เช่นกัน (แม้บางเว็บก็อาจส่งของให้คุณไม่ได้เนื่องจากติดเหตุผลของฤดูกาล)

Ryokuoukan Net Store (緑王館ネットストア)  –  ผักเคลของที่นี้ปลอดสารพิษ

Tohoku Bokujo (東北牧場)  – ผักเคลของที่นี้ก็ปลอดสารพิษเช่นเดียวกัน แต่จะมีขายเฉพาะในช่วงต้นฤดูร้อนและช่วงปลายของฤดูดั่งกล่าวเท่านั้น

Masuda Online Shop (マスダオンラインショープ)

Tokai Aojiru  –  เว็บนี้คุณจะได้เจอผักเคลทั้งในรูปแบบของผง ใบ ไปจนถึงแบบแช่แข็งกันเลยทีเดียว และ แน่นอนอีกว่าผลิตภัณฑ์ของที่นี้ล้วนปลอดสารพิษเช่นเดียวกัน

พูดตามตรงเลยว่า ฉันแทบจะรอไม่ไหวแล้วที่จะสั่งเจ้าพวกใบเคลสดๆ มาทอดกรอบกินจนแทบไม่ไหวกันเลยทีเดียวคะ!