Category Archives: อาหารญี่ปุ่น

คู่มือสุดยอดวิธีการอ่านฉลากอาหารภาษาญี่ปุ่น

Posted on by

ได้เอาไปใช้ได้สะดวกกัน แม้คุณจะพูดญี่ปุ่นได้ แต่ย่อมก็ไม่รู้จักตัวอักษรหมดแน่นอน จึงเป็นงานยากพอดูที่จะแกะคำในภาษานี้บนฉลากอาหารต่างๆ แม้ฉันจะไม่ได้ครอบคลุมไปถึงส่วนประกอบแปลกๆ ซึ่งอาจต้องนำไปเขียนในหัวข้อถัดไป เพราะมันยาวมาก

แต่ฉลากในภาษาญี่ปุ่นนั้นก็ดูจะไม่ค่อยยอกข้อมูลเป็นเนื้อเดียวกันเท่าไรนัก อย่างเช่น ฉลากจะบอกคุณว่าในนี้ประกอบด้วยธาตุอาหารหลักๆ อะไรบ้าง แต่แทบจะไม่เอ่ยถึงวิตามินหรือแร่ธาตุที่ไม่สำคัญบอกกำกับไว้ด้วย (แต่ถ้าคุณซื้อพวกขนมปัง ซีเรียล ฯลฯ ข้อมูลพวกนี้มักจะขึ้นบอกด้วย)

ฉันพยายามแปลคำเพื่อให้เกิดความหลากหลายเท่าที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่บางคำนั้นอาจแตกต่างไปบ้าง แต่โดยรวมแล้วยังมีความหมายเดียวกัน อย่างเช่น “賞味期限” and “消費期限” ซึ่งทั้งสองคำนั้นมีความหมายเดียวกันคือ “ควรบริโภคก่อน, บริโภคก่อน” หรือ ง่ายๆ วันหมดอายุนั้นเอง.

และบอกไว้ก่อนเลยว่า ตารางข้างล่างนี้ ฉันไม่ได้แกะคำแบบคำต่อคำหรอกนะคะ ซึ่งคุณอยากแกะละก็ ตารางแกะคำศัพย์จะช่วยคุณได้อย่างแน่นอน ซึ่งคุณสามารถคัดลอกคำพวกนี้ที่ฉันทำมาให้แล้ว ไปใช่ต่อได้เลยคะ

ตารางคำศัพท์บอกฉลากในภาษาญี่ปุ่น

 

ตัวคันจิ ตัวฮิรากานะ ตัวโรมะจิภาษาอังกฤษเจอได้ที่ไหน
種類別名称  しゅるいべつめいしょうshuruibetsumeishouประเภท

ของอาหาร/ชื่อ

บนหัวฉลาก
名称めいしょうmeishouประเภท

ของอาหาร/ชื่อ

เหมือนข้างบน
種類別しゅるいべつshuruibetsuประเภท
種類  しゅるいshuruiประเภท/

หมวดหมู่

種類 + 別  หรือ

“種類別” เป็นความหมายเดียวกัน

商品名しょうひんめいshouhinmeiชื่อผลิตภัณฑ์ส่วนมากแล้วมักจะอยู่บนฉลาก
品名ひんめいhinmeiชื่อผลิตภัณฑ์เช่นเดียวกับข้างบน
商品 しょうひんshouhinชื่อผลิตภัณฑ์商品 + 名 หรือ “商品名” เป็นความหมายเดียวกัน
原材料名げんざいりょうめいgenzairyoumeiวัตถุดิบ/ส่วนประกอบอยู่ตรงด้านขวาข้างๆ คำว่า

“名称” หรือ “種類別”

内容量ないようりょうnaiyouryouปริมาณอยู่ใต้คำว่า  

原材料名 แต่บางครั้งก็ปรากฏอยู่ที่อื่น

内容ないようnaiyouส่วนประกอบ/สลาร内容量 หรือจำนวนปริมาณของสิ่งนั้น
りょうryouปริมาณ内容量 หรือจำนวนปริมาณของสิ่งนั้น
賞味期限しょうみきげんshoumikigenควรบริโภคก่อน/วันหมดอายุปรกติจะมีการ

บอกวันอยู่แล้ว แต่บางครั้งก็จะเขียนบอกว่า “ดูข้างๆ กล่อง” หรือคำอะไรประมาณนั้นในภาษาญี่ปุ่น

消費期限しょうひきげんshouhikigenควรบริโภคก่อน/วันหมดอายุเหมือนข้างบน
保存方法ほぞんほうほうhozonhouhouวิธีการเก็บรักษา

(หลังจากเปิดแล้ว)

จะเขียนอยู่ข้างบนข้อมูลต่างๆ
保存ほぞんhozonการเก็บรักษา保存方法 หรือ “วิธีการเก็บรักษา”
方法ほうほうhouhouวิธีเก็บ保存方法 หรือ

“วิธีการเก็บรักษา”

主要栄養成分しゅようえいようせいぶんshuyoueiyouseibunข้อมูบด้านโภชนาการ(หลัก)เขียนอยู่

ข้างบนของหัวข้อโภชนาการ

栄養成分えいようせいぶんeiyouseibunข้อมูบด้านโภชนาการเช่นเดียวกับข้างบน
栄養成分表示えいようせいぶんひょうじeiyouseibunhyoujiข้อมูบด้านโภชนาการเช่นเดียวกับข้างบน

 

主要しゅようshuyouส่วนประกอบหลัก主要栄養成分 หรือตรงในส่วนของข้อมูลด้านโภชนาการ
栄養えいようeiyouข้อมูบด้านโภชนาการ主要栄養成分 หรือ

栄養成分 “ข้อมูลบด้านโภชนาการ”

成分せいぶんseibunส่วนประกอบ主要栄養成分 หรือ

栄養成分 “ข้อมูลบด้านโภชนาการ”

表示ひょうじhyoujiรายชื่อ/ตาราง栄養成分表示 หรือ
“ข้อมูลด้านโภชนาการ”
産地さんちsanchiผลิตที่/ปลูกที่เอาไว้บอกที่มา

ของอาหารชิ้นนั้นๆ

原産国名げんさんこくめいgensankokumeiประเทศที่ผลิตเขียนบอกไว้ว่านี่เป็นสินค้านำเข้า
国産こくさんkokusanผลิตในประเทศเขียนบอกไว้ว่านี่เป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศ
さんsanสถานที่ผลิตปรกติจะเห็นคำนี้อยู่บนชั้น, ตรา ฯลฯ ที่จะเขียนบอกชื่่อสถานที่นั้นๆ พร้อมด้วยคำว่า   産 ว่ามาจากที่ไหนด้วยกำกับด้วยเช่นกัน
加工年月日かこうねんがっぴkakounengappiวันที่สินค้าเข้ากระบวนการผลิตมักจะเห็นในอาหารประเภท ซีฟู๊ด/เนื้อสัตว์ ที่จัดการมาเรียบร้อยแล้ว
養殖ようしょくyoushokuฟาร์มมักจะเห็นในอาหารประเภท ซีฟู๊ด/ปลา
解凍かいとうkaitou“เคย

ละลายการแช่แข็งไว้แล้ว”

มักจะเห็นฉลากพวกนี้บนอาหารประเภท ซีฟู๊ด/เนื้อสัตว์ ที่เคยคลายการแช่แข็งไว้ก่อนแล้ว
加熱用かねつようkanetsuyouปรุงก่อนรับประทานมักจะเห็นในอาหารประเภท ซีฟู๊ด/เนื้อสัตว์
刺身用さしみようsashimiyouใช้ทำซาซิมิได้มักจะเห็นในอาหารประเภท ซีฟู๊ด/เนื้อสัตว์
生食用なましょくようnamashokuyouสามารถกินดิบๆ/สดๆ ได้เลยมักจะเห็นในอาหารประเภท ซีฟู๊ด/เนื้อสัตว์
味付あじつけajitsukeปรุงรสมาเรียบร้อยแล้วมักจะเห็นในอาหารประเภท ซีฟู๊ด/เนื้อสัตว์ (สังเกตง่ายๆ คุณจะเห็นความแตกต่างจากผลิตภัณฑ์ปรกติ)

 

地鶏じどりjidoriใช้ระบบเลี้ยงแบบเปิดพบเห็นได้ใน

ผลิตภัฑณ์ประเภทเนื้อไก่

当たりあたりatari“ต่อ” หรือ

“สำหรับ”

1箱 (100g) 当たり

หรือ “ต่อ 1 กล่อง (100 g)”

はこhakoต่อกล่อง1箱 (100g) 当たり

หรือ “ต่อ 1 กล่อง (100 g)

パックpakkuต่อแพ็ค1パック (100ml) 当たり หรือ “ต่อ 1 แพ็ค (100ml)”
ーほん, ーぼん, ーぽん-hon, -bon, -ponต่อขวด(ที่มีขนาดยาว)1本 (53g) あたり
koต่อหน่วยทั่วไป1箱 (100g) 当たりหรือ

“ต่อ 1 กล่อง (100 g)”

ตารางบอกข้อมูลคำศัพท์ด้านคุณค่าโภชนาการ

ตารางข้างล่างนี้จะบอก “ข้อมูลด้านคุณค่าด้านโภชนาการ”  หรือ “ ข้อมูลผลิตภัณฑ์อาหาร” โดยปรกติแล้วมักจะบอก จำพวก แคลอรี่, หรือสารอาหารอื่นๆ แต่บางครั้ง ก็จะมีบอกพวกวิตามินและแร่ธาตุอื่นๆ เอาไว้ด้วยเช่นกัน

 

ศัพท์ญี่ปุ่นตัวฮิรากานะตัวโรมะจิภาษาอังกฤษหมายเหตุ
エネルギー             enerugii“พลังงานที่จะได้รับ” หรือ “แคลอรี่”
熱量ねつりょうnetsuryouแคลอรี่
たんぱく質        たんぱくしつtanpakushitsuโปรตีนมักเขียนในรูปแบบอื่นๆ เช่น “タンパク質” หรือ “たん白質”
炭水化物            たんすいかぶつtansuikabutsuคาร์โบไฮเดรต
ナトリウムnatoriumuโซเดียม
脂質ししつshishitsuไขมัน
カルシウム              karushiumuแคลเซียม
糖類とうるいtouruiน้ำตาลใช้คำเดียวกันว่า “砂糖,” พบเห็นคำนี้ได้ในส่วนของวัตถุดิบ
てつtetsuธาตุเหล็ก
亜鉛あえんaenสังกะสี
葉酸ようさんyousanกรดโฟลิก
食物繊維しょくもつせんい                     shokumotsuseniเส้นใยอาหารในตัวอักษรคันจินั้นอาจเขียนคนละแบบกัน
ビタミンbitaminวิตามินอาหารพวกขนมปัง/ซีเรียล มักจะเขียนบอกไว้ใต้ในส่วนของวัตถุดิบ โดยจะบอกเพิ่มเติมไปอีกว่า มีวิตามินใดในนี้มั้ง (B,C ฯลฯ)
食塩相当量しょくえんとうそうりょうshokuentousouryouปริมาณเกลือ

วิธีอ่านฉลากข้อมูลด้านโภชนาการ

ยกตัวอย่างด้วยภาพฉลากของซอส ช่องด้านบนจะมีตัวอักษรที่เขียนไว้ว่า “栄養成分表示 ซึ่งหมายถึง “ข้อมูลด้านโภชนาการ, คุณค่าทางโภชนาการ” และข้างๆ ข้อความดังกล่าวด้านซ้าย คุณจะเห็น ปริมาณที่ควรบริโภคต่อครั้ง ซึ่งในรูปนี้หมายถึง ต่อ 100 กรัม (100gあたり) โดยหมายเลขแสดงอธิบายทั้งหมดนั้นจะเป็นการอธิบายถึงคุณค่าทางโภชนาการต่อการบริโภคหนึ่งครั้ง (100 กรัม)

“あたり” สามาาถเขียนได้ทั้งสองแบบคือ  “当たり”    หรือ   “当り.”

ต่อไปคือการอ่านจำนวนแคลอรี่ทั้งหมด จากในภาพจะเขียนไว้คือ “エネルギー” แต่ยังสามารถเขียนได้อีกแบบคือ “熱量” ต่อจำนวน 100 กรัม ซึ่งในฉลากระบุในนี้มีทั้งหมด 89 แคลอรี่

โดยฉลากส่วนใหญ่นั้นมักจะแสดงข้อมูลทั้งหมดอธิบายเป็นแบบนี้ แตกต่างกันไป ซึงประกอบไปด้วย โปรตีน (たん白質), ไขมัน (脂質), คาร์โบไฮเครต(炭水化物), และ โซเดียม (ナトリウム) แต่สำหรับ น้ำตาลนั้น หลายๆ ฉลากและยี่ห้อนั้นมักจะคิดรวมไปอยู่กับ “คาร์โบไฮเครต” เลย แต่ในรูปนี้ ได้บอกว่ามีน้ำตาลประเภท ไลโคปีน(リコピン)  ผสมอยู่ด้วย พร้อมด้วยปริมาณเกลือ (食塩相当量) บอกไว้ด้วยเช่นเดียวกันซึ่งบางทีก็บอกไว้หรือไม่ก็ตาม แล้วแต่ยี่ห้อ

ลองตัวอย่างอีกสักหนึ่งตัวอย่างกันไหมคะ

ในรูปนี้เราจะเห็นแคลอรี่เขียนไว้คือ “エネルギー” ตามด้วยโปรตีน (たんぱく質),ไขมัน (脂質), คาร์โบไฮเครต (炭水化物), และ โซเดียม (ナトリウム) ร่วมด้วยธาตุอื่นๆ ประกอบไปด้วย แคลเซียม (カルシウム), แม็คนีเซียม (マグネシウム), เหล็ก(鉄), สังกะสี(亜鉛), เลซิทิน (レシチン), คอเลสเตอรอล(コレステロール), และ ไอโซฟลาโวน (イソフラボン).

ต่อไปเรามาดูฉลากของโยเกิร์ตกัน

อีกครั้งเราจะได้เห็นคำว่า คุณค่าทางโภชนาการ ระบุอยู่ “栄養成分” และ คำว่า (100g当たり) ซึ่งหมายถึงต่อการบริโภคหนึ่งครั้ง 100 กรัม

ครั้งนี้เราจะสังเกตคำว่า แคลอรี่ นั้นเขียนเป็นอีกแบบหนึ่งคือ “熱量” แทนที่จะใช้คำว่า  “エネルギー”  แทน นอกจากนั้นในฉลากเราจะเห็น โปรตีน  (たんぱく質), ไขมัน (脂質), คาร์โบไฮเครต (炭水化物), โซเดียม sodium (ナトリウム) และ แคลเซียม  (カルシウム) ระบุไว้ในฉลากตามลำดับ

ทางด้านขวาของฉลากนั้น ใต้คำว่า ประกอบด้วยส่วนประกอบอื่นๆ คือ  関与成分 (かんよせいぶん, kanyo seibu,) ซึ่งในนี้ได้ระบุว่ามีแบคทีเรียแบบมีประโยชน์อะไรประกอบอยู่ในนี้บ้าง (พิมพ์ระบุด้วยตัวเอียง)

สุดท้ายนี่เรามาดูที่ฉลากของกราโบล่ากันคะ ซึ่งในรูปนี้ฉันเขียนอธิบายไว้หมดแล้วทางด้านซ้าย โดยจากในรูปคุณจะได้เห็นว่่ามีวิตามินและแร่ธาตุหลากหลายระบุเขียนบอกไว้ด้วยเช่นกัน (ยกเว้นหัวข้อคอลัมน์ด้านซ้ายที่เขียนไว้ว่า ข้อมูลของนม)

โปรดสังเกตว่า คาร์โบไฮเดรต (炭水化物) ได้ระบุออกเป็นสองส่วนคือ น้ำตาล(糖類) และ ใยอาหาร(食物繊維) โดยการแบ่งแบบนี้คุณจะไม่ได้เห็นบ่อยๆ ในฉลากอื่นๆ

 

ใครคือบล็อกเกอร์อาหารญี่ปุ่นสุดโปรดในดวงใจของคุณกัน? โดย แอซลี่ย์

Posted on by

หลายวันก่อนได้มีคนถามฉันในทวิตเตอร์ว่า ฉันเอาข้อมูลพวกสูตรอาหารญุี่ปุ่นจากเว็บไหนกันบ้าง (เว็บภาษาอังกฤษพร้อมด้วยสูตรการทำ) วันนี้ฉันก็เลยจัดให้ แน่นอนเลยว่าตอนคุณมาอยู่ที่ประเทศนี้แรกๆ คุณจะได้เจอวัตถุดิบใหม่ๆ ของประเทศนี้ซึ่งคุณไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันทำอะไรได้บ้าง (ซึ่งบางอย่างคุณก็พออาจคุ้นเคยอยู่บ้างก่อนหน้ากันมาบ้างอ่ะนะ) ซึ่งแน่นอนว่ามีเว็บไซด์ข้อมูลมากมายเลยล่ะ ที่คุณจะสามารถค้นหาสูตรอาหารพอคุ้นเคยกันอยู่บ้างมาลองทำกันดู

และจากประสบการณ์ของฉันเอง บางอย่างนั้นอาจทำได้ยากอยู่บ้างเมื่อมาอยู่นี้ และ

บางอย่างอีกเช่นเดียวกันที่ดูเหมือนใช้ค่าใช้จ่ายมากกว่าตอนที่ทำอยู่ที่่ประเทศบ้านซะอีก แต่รวมๆ แล้วล่ะก็ ฉันก็ยังแฮปปี้อยู่บ้างๆ พอดู เพราะสามีและฉันต่างได้ทำอาหารหลากหลายไว้มากมายพอดู ไม่ได้มีแค่เฉพาะแค่อาหารญุี่ปุ่นเท่านั้นนะ แต่ยังรวมไปถึงอาหารพิเศษๆ อย่างพวกอาหารเพื่อสุขภาพอีกด้วย (ในบล็อกของฉันเนี่ยมีเต็มไปหมดจนแสดงไม่หวาดไม่ไหวเลย)

โดยในวันนี้เองฉันก็เลยอยากจะแนะนำบล็อกอาหารญุี่ปุ่นสุดโปรดของฉันกันสักนิดนึง ซึ่งถ้าฉันพลาดบล็อกโปรดของพวกคุณอะไรไว้บ้างล่ะก็ โปรดแนะนำลงไปด้วยได้เลยในส่วนของช่องแสดงความคิดเห็นข้างล่างได้เลยนะคะ (ฉันรู้ดีว่ามีบล็อกแบบนี้เป็นร้อยๆ เลย ที่เกี่ยวกับอาหารซึ่งไม่แค่เฉพาะอาหารเท่านั้น ยังรวมไปถึงการแนะนำร้านอาหารหรืออะไรโดนๆ ด้วยเช่นกัน แต่วันนี้ฉันจะมาแนะนำเฉพาะในบล็อกโปรดของดิฉัน โดยบล็อกเหล่านี้นั้นจะมีสูตรให้ไปศึกษาและลองทำตามกันดู)

Just Hungry และ Just Bento – โดยทั้งสองเว็บมีคนเขียนคนเดียวกันคือ คุณ Makiko Itoh, ซึ่งทั้งสองเว็บต่างมีสูตรอาหารญี่ปุ่นมากมายกำลังให้คุณเข้ามาเยี่ยมชมชนิดแบบห้ามพลาดเด็ดขาด (แนะนำอย่างยิ่งเลยสำหรับผู้ที่ไม่เคยเข้าครัวทำอำหารมาก่อน)

Tokyo Terrace – เขียนโดยคุณ Rachel อีกหนึ่งบล็อกเกอร์จากเว็บไซด์นี้ นอกจากชำช่องเรื่องการเขียนแล้ว เธอยังชำช่องในการสรรค์หาเครื่องปรุงเด็ดๆ รอบตัวเธอมาสร้างเป็นเมนูใหม่ๆ ได้เยี่ยมอีกด้วยเช่นกัน

Lovely Lanvin – เขียนโดยคุณ Shirley, แม้ตัวเธอเองตอนนี้จะะอยู่ที่ซีแอตเติล แต่ความชอบในอาหารนั้นก็ไม่อาจหยุดเธอไว้ได้กลับอีกหนึ่งยอดบล็อกเกอร์ผู้รอบรู้ข้อมูลด้านสูตรอาหารญี่ปุ่น (เธอเองก็เขียนบทความ ทริปเล็กๆ น้อยๆ ในการใช้ชีวิตในประเทศญี่ปุ่นให้กลับเว็บไซด์นี้ด้วยเหมือนกัน)

Cooking in Japan – เขียนโดยคุณ Kirksten ผู้ซึ่งเน้นในเรื่องการทำอาหารเพื่อสุขภาพเป็นหลักจากวัตถุดิบท้องถิ่น คนนี้ก็อย่าพลาดเช่นเดียวกัน

Raw Bento – ของเด็ดสำหรับผู้ที่ชื่นชอบกินอาหารดิบๆ  โดยคุณ Yu Ming นั้นได้เขียนบทความมากมายเกี่ยวกับการกินอาหารแบบดิบๆ ของประเทศนี้ไว้เมื่อเธอยังเคยอาศัยอยู่ที่นี่ แม้คุณจะไม่ใช่คออาหารดิบเหมือนอย่างเธอแล้วล่ะก็ บทความบางเรื่องของเธอนั้น บางทีอาจทำให้คุณเกิดแรงดลใจหรือโดนบางอย่างเหมือนกันก็ได้นะคะ (เธอเองก็เขียนบทความในเรื่องของการบำรุงผิวให้กับในเว็บนี้ด้วยเหมือนกัน)

She Who Eats – บล็อกที่เกี่ยวกับอาหารและเรื่องครุ่นคิดในประเทศนี้ แต่โดยปรกติแล้วจะเน้นไปที่เรื่องสูตรอาหารซะมากกว่า

La Fuji Eats – เขียนโดยอีกหนึ่งคุณ Rachael แม้ตอนนี้เธอจะไม่ได้อยู่ในประเทศนี้อีกต่อไป โดยในเว็บนี้คุณจะได้พบกับสูตรอาหารทั่วโลกมากมายในเว็บนี้ ซึ่งรวมไปถึงสูตรอาหารที่จำเพาะเจาะจงโดยต้องใช้วัตถุดิบหรือญี่ปุ่นโดยเฉพาะเท่านั้น

Savory Japan – มีสูตรอาหารญี่ปุ่นเยอะอยู่ในนี้เช่นเดียวกัน

นอกจากนี้คุณผู้อ่านยังสามารถค้นหาไดเดียสูตรอาหารใหม่ๆ ได้โดยบล็อกเกอร์คนอื่นๆ ที่ต่างส่งสูตรของตนเองได้ผ่านทางหัวข้อ November Japan Blog Matsuri ได้ในที่นี้เช่นเดียวกัน(โดยธีมหลักของบล็อกนี้คือเรื่องของอาหาร!)

แล้วคุณล่ะคะ คุณได้พบเว็บบล็อกสูตรอาหารเด็ดๆ จากที่ใดบ้างกันหรือเปล่า?